ทัศนคติ

คุณสมบัติของครูแนะแนว
      งานแนะแนวเป็นวิชาชีพซึ่งผู้ประกอบวิชานี้จำเป็นจะต้องเป็นผู้ได้รับการศึกษา ฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะจึงจะสามารถทำงานแนะแนวให้บังเกิดผลดีมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับคุณสมบัติของครูแนะแนวนั้น กรมวิชาการ ได้กำหนดว่าอย่างน้อยควรจะมี 3ประการ คือ

  1. วุฒิทางการศึกษา
  2. ประสบการณ์ในการแนะแนว
  3. คุณสมบัติบางประการที่จำเป็น

วุฒิทางการศึกษา มีวุฒิอย่างน้อยปริญญาตรีและได้รับการศึกษาอบรมทางด้านการแนะแนวหรือจิตวิทยาการแนะแนวโดยเฉพาะ หรือได้รับการอบรมวิชาการแนะแนวตามหลักการที่คณะกรรมการแนะแนวการศึกษาและอาชีพของกระทรวงศึกษาธิการได้วางไว้

ประสบการณ์ เป็นครูอย่างน้อย 5 ปี และไม่เคยปฏิบัติงานแนะแนวมาแล้วอย่างน้อย 1 ปีและได้สอนนักเรียนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปีในระดับชั้นการศึกษาที่ทำหน้าที่แนะแนว

คุณสมบัติที่จำเป็น

1. มีความสนใจเรื่องการแนะแนว

2. มีความสนใจทุกข์สุขของนักเรียน

3. มีความเข้าใจเรื่องการสอนการเรียน และทำการสอนได้ผลดีมาแล้ว

4.มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับชีวิตมาแล้วพอสมควร

5. มีความรู้เกี่ยวกับภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม ทันต่อเหตุการณ์เสมอ

6. ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม เช่นยุติธรรม มีขันติ มีความจริงใจ รักษาความลับและไว้วางใจได้

7. มีความสามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย

8. มีบุคลิกภาพดี เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ที่ติดต่อด้วย นักเรียนอยากเข้าใกล้และเกิดความรู้สึกไว้วางใจ

9. ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของคนอื่น สามารถเข้าใจความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น

10. มีศิลปะในการพูด การฟัง อันจะทำให้การแนะแนวบรรลุผลตามความมุ่งหมาย

11. มีสุขภาพแข็งแรงและสุขภาพจิตดี

12. มีอารมณ์มั่นคงและมีอารมณ์ขัน

13. มีใจกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น

14. มีความเชื่อมั่นในตนเองและมีความสุขุมรอบคอบ

   คุณลักษณะ 7ด้าน

1.บุคลิกลักษณะ

2.มนุษยสัมพันธ์

3.ความเป็นผู้นำ

4.คุณธรรมและความประพฤติ

5.ความรู้และประสบการณ์ในการสอน การดำเนินชีวิต

6.ประสบการณ์การสอนและการจัดกิจกรรมแนะแนว

7.ทักษะการแนะแนว

ด้านบุคลิกลักษณะ

  • สุภาพอ่อนโยน
  • มีความพร้อม และกระตือรือร้นที่จะช่วยเหลือนักเรียน
  • มีความมั่นคงทางอารมณ์
  • ใจกว้างเปิดรับข้อมูลจากนักเรียน รับฟังความคิดเห็น
  • แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • มีความเชื่อมั่นในตนเอง สุขุม ละเอียดรอบคอบ
  • บุคลิกภาพดี ผู้อื่นรู้สึกอยากเข้าใกล้ ไว้วางใจ

ด้านมนุษยสัมพันธ์

  • มีความเป็นกันเอง
  • ร่วมงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  • เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
  • ให้เกียรติและยอมรับผู้อื่น
  • เข้าใจ เอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจ
  • ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
  • ไวต่อความต้องการและความรู้สึกของผู้อื่น
  • มีศิลปะการพูดและการฟัง

ด้านความเป็นผู้นำ

  • มีความเสียสละ
  • มีความรับผิดชอบ
  • มีความเป็นประชาธิปไตย
  • ใฝ่หาความรู้
  • คิดริเริ่ม
  • การแสดงความคิดเห็น
  • สื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ด้านคุณธรรมและความประพฤติ

  • ซื่อสัตย์สุจริต
  • ยุติธรรม
  • รักษาความลับ
  • มีหลักการและอุดมคติ
  • มีคุณธรรมและจริยธรรม
  •  ยึดหลักความถูกต้อง
  • เป็นแบบอย่างที่ดีงาม

ด้านการดำเนินชีวิต

  • มีความพึงพอใจในตนเอง ครอบครัวและอาชีพ
  • มีความรู้ความเข้าใจในงาน
  • เป็นผู้ทันเหตุการณ์
  • มีความยืดหยุ่น

ด้านการจัดกิจกรรมแนะแนว

  • รู้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลระบบการศึกษา และอาชีพ
  • รู้กลวิธีการแนะแนว เช่น กิจกรรมกลุ่ม
  • รู้ด้านจิตวิทยา
  •  มีความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และการทดสอบ
  • รู้จรรยาบรรณและหน้าที่ของครู

ด้านทักษะการแนะแนว

  •  ทักษะในการเก็บข้อมูลรายบุคคล-การใช้เครื่องมือต่างๆ
  • การบริหารงานสนเทศ-การจัดหาข่าวสาร การถ่ายทอดข่าวสาร
  • การให้คำปรึกษา
  • การจัดวางตัวบุคคล
  • การประเมินผลและติดตามผล
  • การประชาสัมพันธ์

จรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว

1.ให้บริการด้วยความเต็มใจ โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

2.ยอมรับและศรัทธาในวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนวและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร

3.เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้รับบริการ ด้วยความบริสุทธิ์ใจโดยเสมอภาค

4.มีวิสัยทัศน์และพัฒนาตนเองด้านอาชีพให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

5.ปฏิบัติงานตามหลักวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว

6.รักษามาตรฐานและรับผิดชอบต่อการประกอบวิชาชีพจิตวิทยาการแนะแนว

7.ยุติการให้นอกเหนือความสามารถของตนและส่งต่อไปยังผู้ที่เหมาะสม

8.รักษาความลับของผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้อง

9.เคารพสิทธิและไม่แสวงหาผลประโยชน์จากผู้รับบริการ