- การบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
โดยมีกิจกรรมที่สนับสนุนการพัฒนาสถานศึกษาภายใต้ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) ดังนี้
1. การบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
การบริหารจัดการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
งบประมาณ
300,000 บาท (จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ)
1.1 การจัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ
แนวทางในการดำเนินงาน (Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกาศสถานศึกษาภายใต้ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) ตามสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ และสอดคล้องกับกลุ่มอาชีพของคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2564
2. กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) และแผนการดำเนินงาน โดยบูรณาการงบประมาณจากโครงการ/กิจกรรมของสำนัก/หน่วย/ศูนย์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM)
4. จัดประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
5. จัดพิธีเปิดศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM)
สถานศึกษา
1. แต่งตั้งหัวหน้าศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ภายใต้ฝ่ายวิชาการ ในโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552
2. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM) สาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ โดยกำหนดให้บุคคลในสถานประกอบการหรือภาคเอกชนที่มีศักยภาพสูงเป็นประธานกรรมการ และผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการ
3. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อกำหนดนโยบายและทิศทางการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศให้มีคุณภาพสูง
4. ดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษาในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ภายใต้ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ตามกิจกรรมที่กำหนด โดยการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายอย่างมีคุณภาพ
5. กำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมภายใต้ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เป็นระยะๆ ตามที่ปฏิทินกำหนด
6. สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามกิจกรรมภายใต้ศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
2. คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้อง และสถานประกอบการที่มีความเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ
3. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ
4. ฝ่ายวิชาการ /แผนกวิชา
5. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ /งานความร่วมมือ
6. ฝ่ายบริหารทรัพยากร
7. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียน นักศึกษา
กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)
1. การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง
2. การกำหนดแผนการดำเนินงานและกลไกการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
สถานศึกษามีศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายในการจัดการอาชีวศึกษาอย่างมีคุณภาพ