-การฝึกอบรมและพัฒนาครู
สถานศึกษาอาชีวศึกษาจะต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับเจตนารมย์ในการจัดตั้งสถานศึกษาและจัดการเรียนการสอนตามความถนัดและสอดคล้องกับความต้องการกำลังคนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาครูและบุคลากรในสาขาวิชาเฉพาะทางให้มีทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่ในปัจจุบันและอนาคต ตามทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทย รวมทั้งการฝึกอบรมและพัฒนาครูวิชาชีพในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ให้กับครูในสถานศึกษาเครือข่ายทั้งรัฐและเอกชน
ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาครูให้มีสมรรถนะทางวิชาชีพที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่สถานประกอบการใช้ในปัจจุบัน ให้กับครูเครือข่ายในสาขาเดียวกัน ทั้งจากสถานศึกษา กลุ่มความเป็นเลิศ (Exellence Center) กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ (Expert) กลุ่มทั่วไป (Standard)ที่จัดการเรียนการสอนตรงกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ทั้งนี้การออกแบบหลักสูตรและการพัฒนาครู เป็นการดำเนินการร่วมกับสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) และสถานประกอบการ
5.1 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม จะเป็นการดำเนินการร่วมกันของสถานศึกษาที่เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) และสถานประกอบการ
แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการในการออกแบบหลักสูตร สำหรับพัฒนาครูด้านวิชาชีพ สาขาที่มีความเป็นเลิศ
2. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อออกแบบหลักสูตรสำหรับพัฒนาครูด้านวิชาชีพ สาขาที่มีความเป็นเลิศ
3. นำหลักสูตรไปใช้พัฒนาครูด้านวิชาชีพ สาขาที่มีความเป็นเลิศ
สถานศึกษา
สถานศึกษา คัดเลือกผู้แทนตามสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ทั้งจากสถานศึกษาและสถานประกอบการ เพื่อเข้าร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
2. คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)
3. สถานประกอบการ
4. ฝ่ายวิชาการ/แผนกวิชา
กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)
1.เตรียมความพร้อมและออกแบบพัฒนาหลักสูตร
2.ประสานเครือข่าย สถานประกอบการทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบและพัฒนาหลักสูตร
3.นิเทศ กำกับและติดตาม
เป้าหมายผลผลิต (Key Result)
หลักสูตรสำหรับพัฒนาครูสาขาที่มีความเป็นเลิศแต่ละสาขา อย่างน้อย 1 หลักสูตร
5.2 ฝึกอบรมครูในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เนื่องจากไม่สามารถโอนจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาได้ ดังนั้นการจัดโครงการฝึกอบรมครูในสาขาที่มีความเป็นเลิศ จึงต้องดำเนินการผ่านสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา โดยมีแนวทาง ดังนี้
แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)
ส่วนกลาง
บริหารจัดการโครงการฝึกอบรม ร่วมกับสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา / คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)
สถานศึกษา
1. สถานศึกษาที่เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เลือกหลักสูตรที่ออกแบบไว้ เพื่อใช้พัฒนาครู จำนวน 1 หลักสูตร
2. เสนอโครงการและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการ ผ่านสำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
3. รับสมัครผู้เข้าอบรม จากครูเครือข่ายในสาขาเดียวกัน ทั้งจากสถานศึกษา กลุ่มความเป็นเลิศ (Exellence Center) กลุ่มเชี่ยวชาญเฉพาะ (Expert) กลุ่มทั่วไป (Standard)
4. รายงานผลการดำเนินการ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักพัฒนาสมรรถนะครูและบุคลากรอาชีวศึกษา
2. คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)
3. ฝ่ายบริหารทรัพยากร/งานบุคลากร
4. ฝ่ายวิชาการ/แผนกวิชา
กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)
1.เตรียมความพร้อมหลักสูตรสำหรับในการฝึกอบรม
2.ประสานสถานศึกษาในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ทุกกลุ่ม เพื่อเข้ารับการฝึกอบรม
3.นิเทศ กำกับและติดตาม
เป้าหมายผลผลิต (Key Result)
ครูได้รับการฝึกอบรม ในสาขาที่มีความเป็นเลิศแต่ละสาขา ไม่น้อยกว่า 20 คน