หน่วยที่ 9 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกัน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกัน
1. สาระสำคัญ
9.1 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้า
9.1.1 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีการเดินสายไฟฟ้า
9.1.2 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้าแสงสว่าง
9.1.3 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้ากำลัง
9.2 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอุปกรณ์ป้องกัน
9.2.1 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของคัตเอาต์ชนิดมีฟิวส์
9.2.2 การตรวจสอบทางกลและหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์
9.2.3 การตรวจสอบความสัมพันธ์ของเซอร์กิตเบรกเกอร์กับสายไฟฟ้า
9.3 สรุปสาระสำคัญ
1. การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้า
(1) การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้า
(ก) เป็นการตรวจสอบการติดตั้งว่า สายชนิดนั้น ๆ ติดตั้งถูกต้องตามข้อก าหนด
หรือไม่ เช่น สายVAF ต้องเดินเกาะผนัง ห้ามร้อยท่อฝังดินหรือฝังดินโดยตรง และสายTHW เดินลอยบน
วัสดุฉนวน ห้ามฝังดินโดยตรง เดินร้อยท่อฝังดินได้ เป็นต้น
(ข) ตรวจสอบการใช้งานของสายไฟฟ้าว่า มีร่องรอยฉนวนช ารุดหรือไม่ มีร่องรอยหนู
แทะสายหรือไม่สายไฟที่ใช้เหมาะสมกับฟิวส์หรือโหลดหรือไม่ หากพบให้แก้ไขให้เรียบร้อยทั้งนี้เพื่อความ
ปลอดภัย
(ค) ตรวจสอบการติดตั้งสายดินว่าติดตั้งถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ เช่น ขนาดสาย
ต่อหลักดิน วิธีต่อสายระหว่างสายต่อหลักดินกับหลักดิน และตรวจวัดค่าความต้านทานการต่อลงดิน เป็น
ต้น
(ง) ตรวจสอบกล่องต่อสายว่า มีการป้องกันการบาดสายหรือไม่ จับยึดถูกต้องหรือไม่
จุดต่อสายได้ต่อในกล่องต่อสายหรือไม่ เป็นต้น หากพบข้อบกพร่องให้แก้ไขให้ถูกต้องเรียบร้อย
(2) การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างตรวจสอบวงจรหลอดฟลูออ เรสเซนต์ เช่น ตรวจสอบการติดตั้งสวิตช์ต้องต่อที่สายเส้นไฟก่อนเข้าบัลลาสต์และการต่อขั้วสายตามหลักการต่อสาย รวมทั้งการรักษาความสะอาดของหลอดด้วย เป็นต้น ส่วนตรวจสอบการต่อขั้วรับหลอดของหลอดเผาไส้หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ โดยสายนิวทรัลต้องต่อเข้าขั้วที่เป็นชนิดเกลียวหรือขั้วชนิดเขี้ยว เพื่อป้องกันการสัมผัสขณะเปลี่ยนหลอด ตรวจสอบตำแหน่งติดตั้งสวิตช์ เช่น หลีกเลี่ยงความเสียหายทางกายภาพ เข้าเปิด–ปิดสวิตช์ได้ง่าย ขนาดพิกัดกระแสเหมาะสม เป็นต้น
(3) การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้ากำลัง การต่อสายไฟเข้าเต้ารับต้อง
ถูกต้องตามขั้วที่ก าหนดทั้งสายเส้นไฟ นิวทรัล และสายดิน เมื่อมองจากด้านหน้าแบบทวนเข็มนาฬิกา
2. การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอุปกรณ์ป้องกัน โดยมีหลักสำคัญคือ อุปกรณ์ป้องกันต้องมีขนาดไม่เกินพิกัดทนกระแสของสายไฟฟ้าในวงจรย่อยนั้น ๆ
2. สมรรถนะประจำหน่วย
2.1แสดงความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกัน
2.2 ปฏิบัติงานตรวจสอบระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกันในสถานศึกษา
2.3 เตรียมเครื่องมือได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
2.4 เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
2.5 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความละเอียด รอบคอบ และปลอดภัย
2.6 แสดงพฤติกรรมถึงด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ทั่วไป
1.1 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้า
1.2 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอุปกรณ์ป้องกัน
1.3 มีทักษะในการตรวจสอบแก้ไขและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ป้องกัน
1.4 นักศึกษามีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
2.1 บอกการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวิธีการเดินสายไฟฟ้าได้
2.2 บอกการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของการใช้งานของสายไฟฟ้าได้
2.3 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบสายดินได้
2.4 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้าแสงสว่างได้
2.5 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของวงจรไฟฟ้ากำลังได้
2.6 บอกการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของคัตเอาต์ชนิดมีฟิวส์ได้
2.7 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของเซอร์กิตเบรกเกอร์ได้
2.8 อธิบายการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของการใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์กับสายไฟฟ้า
ได้
2.9 ตรวจสอบระบบไฟฟ้าได้
2.10 ตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันได้
2.11 แสดงออกถึงตรงต่อเวลาและทำงานเป็นกลุ่มได้
2.12 ความมีวินัย ความรักสามัคคีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความพึงพอใจในผลงานที่ทำ
2.13 นักศึกษาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบข้อตกลง และเข้าเรียนตรงเวลา
2.14 นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ มีความรับผิดชอบงานที่มอบหมาย และส่งงานตามกำหนดเวลา
4. สาระการเรียนรู้
9.1 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของระบบไฟฟ้า
9.2 การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอุปกรณ์ป้องกัน