- การปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564)

3.3 การปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564)

             การปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competency) ของมาตรฐานอาชีพ ตามกรอบคุณวิชาชีพ ของสถาบันคุณวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

             งบประมาณ

                   200,000  บาท  (จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ)

             แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ร่วมกับสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ

             2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ

             3. ดำเนินการร่วมกับสถานศึกษา

             4. ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษา

             5. นำเสนอหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ต่อคณะอนุกรรมการฯ ด้านหลักสูตรและมาตรฐานการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

             6. นำเสนอหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ต่อคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อพิจารณาอนุมัติ

             7. เสนอขออนุมัติต่อเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

             8. เสนอขอรับรองวุฒิการศึกษาจากสำนักงาน ก.พ. และหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องต่อไป

             สถานศึกษา

             1. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามองค์ประกอบคณะกรรมการที่กำหนดตามแนวทางการดำเนินงาน

             2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ โดยใช้ข้อมูลจากกิจกรรมที่ 1 ผลการวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศต่อไป และกิจกรรมที่ 2 ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงหน่วยสมรรถนะ (Unit of Competency) ของมาตรฐานอาชีพ ตามกรอบคุณวิชาชีพ ระดับ 1 - 5 ของสถาบันคุณวิชาชีพ (องค์การมหาชน) กับหลักสูตรทั้ง 3 ระดับ จำแนกตามสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มาเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

             3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ

             4. รายงานผลการปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ

             2. ผู้แทนสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

             3. ผู้แทนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

             4. คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)
กลุ่มอาชีพที่มีความเป็นเลิศ

             5. ผู้แทนสถานประกอบการ ในสาขาอาชีพที่มีความเป็นเลิศ

             6. ผู้แทนศิษย์เก่า

             7. ผู้ทรงคุณวุฒิ / อาจารย์มหาวิทยาลัยในสาขาวิชาชีพที่มีความเป็นเลิศ

             8. ฝ่ายวิชาการ / งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน / แผนกวิชา

             กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)

             การดำเนินการตามมาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาแต่ละระดับการศึกษา และกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563 (ปรับปรุง พ.ศ. 2564) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ที่ตรงกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติและตรงกับความต้องการของสถานประกอบการและตลาดแรงงาน