-ศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษา

        สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของนักเรียนนักศึกษา ครูและบุคลากร และทรัพย์สินของทางราชการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยมีการกำหนดนโยบาย โดยมีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษา โดยให้มีบทบาทหน้าที่ ในการกำกับและติดตาม ในด้าน การจัดการเรียนการสอนในนสถานศึกษา   ด้านการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพหรือการฝึกงานในสถานประกอบการ ด้านกิจการนักเรียน นักศึกษา  องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) และองค์การนักเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (อกท.)  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามมาตรฐานคู่มือแนวทางการขับเคลื่อนการสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาอาชีวศึกษา  ดังนี้

         6.1 ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา

             แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)

             ส่วนกลาง

              จัดทำมาตรฐานและคู่มือความปลอดภัยในห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และโรงฝึกงาน

             ส่วนสถานศึกษา

              1. จัดให้ผู้เรียนมีประกันอุบัติเหตุทุกราย

               2. พัฒนาระบบดูแลผู้เรียนอาชีวศึกษาแบบมีส่วนร่วม

               3. กำหนดมาตรการป้องกันการกระทำความรุนแรงต่อเด็กนักเรียนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา

              4. พัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาในสถานศึกษาให้น่าอยู่น่าเรียนอย่างมีความสุข

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง  (Key Partner)

              1. ศูนย์พัฒนา ส่งเสริมประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ

              2. ฝ่ายวิชาการ /แผนกวิชา / งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             1. กำหนดนโยบายและมาตรในการดำเนินการปลูกฝัง ป้องกัน ปราบปราม  ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา

             2. กำหนดแนวทางในการเสริมสร้างความปลอดภัย ในด้านต่างๆ กับผู้เรียน

             3. พัฒนาระบบงานและมาตรการต่างๆ  ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา เช่น ระบบการดูแลผู้เรียนแบบมีส่วนร่วม /ประกันอุบัติเหตุ /เยี่ยมบ้าน

             4. ประสานเครือข่ายการเฝ้าระวังทางสัง แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ครูได้รับการฝึกอบรม ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ไม่น้อยกว่า 20 คน

 

         6.2 ด้านการฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพหรือการฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

             แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)

             1.    จัดตั้งศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคเขตพื้นที่ จำนวน ๑๕ แห่ง โดยให้มีบทบาทและหน้าที่ในการกำกับติดตามการฝึกงานและฝึกอาชีพในสถานประกอบการของผู้เรียนให้เกิดความปลอดภัย และเป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีหน้าที่ ดังนี้

                   1.1 ส่งเสริม สนับสนุน สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้กับสถานประกอบการในพื้นที่รับผิดชอบ

                   1.2 สำรวจข้อมูลความต้องการของสถานประกอบการในการรับผู้เรียน เข้าฝึกงานและฝึกอาชีพเพื่อเผยแพร่ให้กับสถานศึกษาในเครือข่าย

                   1.3 จัดทำแผนพัฒนาการดำเนินงานของศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

                   1.4 จัดทำรูปแบบบริหารงานภายในศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

                   1.5 นิเทศการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้เป็นตามนโยบาย กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                   1.6 จัดเตรียมความพร้อม ส่งเสริมและจัดกิจกรรม ก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกงานและฝึกอาชีพของผู้เรียนต่างเขตพื้นที่รับผิดชอบ

                   1.7 จัดทำแนวทางการทำงาน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และอำนวยความสะดวก แก่ผู้เรียนที่มาฝึกงานและฝึกอาชีพในสถานประกอบการในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

                   1.8 สร้างความตระหนัก และความเข้าใจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการฝึกงานและฝึกอาชีพ   ทั้งในสถานศึกษาและในสถานประกอบการ

                   1.9 ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

             2.    กำกับติดตามความปลอดภัยในการฝึกงานและฝึกอาชีพให้เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองนักเรียน นักศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๔

             3.    กำหนดภารกิจหน้าที่ให้งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษากำกับติดตามคุณภาพของการฝึกงานและฝึกอาชีพให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้มีความปลอดภัยในการฝึกงานและฝึกอาชีพ ตลอดจนประสานงานกับศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงานและฝึกอาชีพ โดยมีหน้าที่ ดังนี้

                   3.1 ติดต่อประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อจัดหาสถานที่ฝึกงานและฝึกอาชีพที่ได้มาตรฐานให้กับผู้เรียน

                   3.2  วางแผนร่วมกับสถานประกอบการในการวางแผนการฝึกงานและฝึกอาชีพของผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะวิชาชีพตามที่หลักสูตรกำหนด

                   3.3  นิเทศการฝึกงานและฝึกอาชีพของผู้เรียนให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้อง

                   3.4 ฝึกอบรมเกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานให้แก่ผู้เรียนก่อนการฝึกงานและฝึกอาชีพ

                   3.5 ปฐมนิเทศผู้เรียนก่อนการฝึกงานและฝึกอาชีพ โดยแจ้งระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองความปลอดภัยในการทำงาน สิทธิประโยชน์ของผู้เรียน ตลอดจนแจ้งช่องทาง    ในการขอรับความช่วยเหลือหรือการร้องทุกข์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อสถานประกอบการไม่ปฏิบัติตามตามนโยบาย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง หรือเมื่อผู้เรียนต้องการได้รับ การดูแลช่วยเหลือเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียนระหว่างการฝึกงานและฝึกอาชีพ

                   3.6  รายงานปัญหา และประสานงานกับศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่เมื่อผู้เรียนที่ฝึกงานและฝึกอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับผู้เรียน และเพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เรียน

                   3.7 ตรวจสอบ กำกับ ติดตาม มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบการ ที่ผู้เรียนฝึกงานและฝึกอาชีพ ให้เป็นเป็นไปตามตามนโยบาย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                   3.8 ประสานงานกับครูนิเทศก์และครูฝึกของสถานประกอบการด้านการจัดการศึกษา และการวัดผลและประเมินผลให้เป็นเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

                   3.9  ประสานงานกับสถานประกอบการ ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้ปกครอง เพื่อดูแลช่วยเหลือผู้เรียนระหว่างการฝึกงานและฝึกอาชีพ

                   3.10 ปัจฉิมนิเทศผู้เรียนหลังการฝึกงานและฝึกอาชีพ

             ผู้เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคี

             2. ศูนย์อาชีวศึกษาทวิภาคีเขตพื้นที่

             3. สถานประกอบการ

             4. ฝ่ายวิชาการ แผนกวิชา งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูนิเทศก์สถานประกอบการ

             5. ผู้ปกครอง

             กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)

             1. การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียนก่อนการฝึกงานและฝึกอาชีพ

             2. การนิเทศติดตามการฝึกงานและฝึกอาชีพ

             3. ช่องทางในการรับเรื่องร้องทุกข์และกระบวนการที่เป็นระบบในแก้ไขปัญหา และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนในการฝึกงานและฝึกอาชีพ

             4. การประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน

             เป้าหมายผลผลิต (Key Result)

             1. การฝึกงานและฝึกอาชีพของผู้เรียนเป็นไปตามกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

             2. ผู้เรียนที่ฝึกงานและฝึกอาชีพในสถานประกอบการมีความปลอดภัย ร้อยละ 100

 

         6.3 ด้านกิจการนักเรียน นักศึกษา   องค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย (อวท.) และองค์การนักเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อกท.)

             แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1. ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการบริหารองค์การนักวิชาชีพแห่งประเทศไทย (อวท.) และองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (อกท.) ให้มีโครงสร้าง บทบาทและหน้าที่เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และการไกล่เกลี่ยปัญหา ของนักเรียนนักศึกษา ทั้งในระดับสถานศึกษาและระดับจังหวัด

             2. กำหนดโครงสร้างและรูปแบบในการบริหารจัดการกิจการนักเรียนนักศึกษาในระดับจังหวัด ให้ครอบคลุมถึงสิทธิเด็กและเยาวชน

             3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนจัดตั้งองค์การนักวิชาชีพแห่งประเทศไทย (อวท.) เพื่อดำเนินการตามโครงสร้าง และรูปแบบในการบริหารจัดการกิจการนักเรียนนักศึกษาที่กำหนด

             สถานศึกษา

             1. แต่งตั้งคณะกรรมการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของนักเรียน นักศึกษาในทุกระดับ

             2. แต่งตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยปัญหาของนักเรียนนักศึกษาในทุกระดับ

             3. รายงานกำกับ ติดตาม การประเมินผล

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง  (Key Partner)

             1. ศูนย์พัฒนาส่งเสริมประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ

             2.    ฝ่ายบริหารทรัพยากร  / งานบุคลากร

             3.    ฝ่ายวิชาการ /แผนกวิชา

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             1. กำหนดนโยบายและมาตรในการดำเนินการปลูกฝัง ป้องกัน ปราบปราม  ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา

             2. ปรับปรุงระเบียบ โดยให้มีโครงสร้างบทบาทและหน้าที่เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับ การับเรื่องร้าวร้องทุกข์ และการไกล่เกลี่ยของนักเรียน นักศึกษา 

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ครูได้รับการฝึกอบรม ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ไม่น้อยกว่า 20 คน

 

         6.4 ด้านการเฝ้าระวังทางสังคมและไซเบอร์

             แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)

             ส่วนกลาง

             พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางสังคมและสื่อลามกอนาจารผ่านระบบออนไลน์

             สถานศึกษา

             1. ฝึกอบรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันภัยทางสังคม และสื่อลามกอนาจาร ผ่านระบบออนไลน์

             2. ส่งเสริมการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน มีทักษะการคิดแบบวิจารณญาณ

             3. กำหนดมาตรการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด การทะเลาะวิวาท การถูกล่อลวง ภัยไซเบอร์ ในนักเรียน นักศึกษา

             4. พัฒนาระบบและเครือข่ายการเฝ้าระวังทางสังคมและไซเบอร์แบบมีส่วนร่วม

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. ศูนย์พัฒนา ส่งเสริมประสานงานกิจการนักศึกษาและกิจการพิเศษ

             2. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             1. กำหนดนโยบายและมาตรในการดำเนินการปลูกฝัง ป้องกัน ปราบปราม  ในเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา

             2. กำหนดแนวทางในการเสริมสร้างความปลอดภัย ในด้านต่างๆ กับผู้เรียน

             3. พัฒนาระบบงานและมาตรการต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา

             4. ประสานเครือข่ายการเฝ้าระวังทางสัง แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

            ศูนย์รับร้องเรียนและไกล่เกลี่ยปัญหาจำนวน 1ศูนย์/สถานศึกษา