หน่วยที่ 2 สายไฟฟ้าและการใช้งาน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2   สายไฟฟ้าและการใช้งาน

 

 

สาระสำคัญ

1 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2 มาตรฐานสายไฟฟ้า

3 ประเภทของสายไฟฟ้า

4 การกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน แรงดันต่ำ

5 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า

6 ข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้า

 

2. สมรรถนะประจำหน่วย

1. แสดงความรู้เกี่ยวกับสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท.

2. ระบุชื่อสายไฟฟ้าตามแบบงานที่กำหนด

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

 

จุดประสงค์ทั่วไป

1. บอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2. อธิบายมาตรฐานสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท

3. บอกข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้า

4. นักศึกษามีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. บอกมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 5 มาตรฐาน

2. อธิบายมาตรฐานสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท. ได้

3. ระบุชื่อและประเภทสายไฟฟ้าตามแบบงานที่กำหนดได้

4. บอกการกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน แรงดันต่ำตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 และ มาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 ได้

5. อธิบายขนาดกระแสของสายไฟฟ้าประกอบตารางขนาดกระแสและวิธีการติดตั้งได้

6. บอกข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าได้ไม่ต่ำกว่า 4 ชนิด

7. แสดงออกด้านการตรงต่อเวลา ความสนใจใฝ่รู้ ไม่หยดนิ่งที่จะแก้ปัญหา ความซื่อสัตย์ ความร่วมมือ

4. สาระการเรียนรู้

 

2.1 มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น มาตรฐาน IEC, BS, ANSI, NEMA, DIN, VDE, UL, JIS, AS เป็นต้น หรือเป็นชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯ ก่อน

โดยมาตรฐานที่อ้างอิงให้ยึดถือตามฉบับที่ปรับปรุงล่าสุด

2.2 มาตรฐานสายไฟฟ้า

2.2.1 มาตรฐานสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 (EIT Standard 2001–45)

2.2.2 มาตรฐานสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 (EIT Standard 2001–56)

  2.3 ประเภทของสายไฟฟ้า

2.3.1 ประเภทของสายไฟฟ้า แบ่งตามลักษณะของตัวนำ

2.3.2 ประเภทของสายไฟฟ้า แบ่งตามการใช้แรงดันไฟฟ้า

2.3.3 ประเภทของสายไฟฟ้า แบ่งตามการห่อหุ้มฉนวน

2.4 การกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวน แรงดันต่ำ

2.4.1 การกำหนดสี ตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 (EIT Standard 2001–45)

1. ตัวนำนิวทรัล ใช้สีเทาอ่อนหรือสีขาว

2. สายเส้นไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากตัวนำนิวทรัล

2.4.2 การกำหนดสี ตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 (EIT Standard 2001–56)

1. ตัวนำนิวทรัล ใช้สีฟ้า

2. สายเส้นไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากตัวนำนิวทรัล

2.5 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้า

2.5.1 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2531

2.5.2 ขนาดกระแสของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2553

2.6 ข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้า

2.6.1 ข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2531

2.6.2 ข้อกำหนดการใช้งานของสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2553

2.6.3 การเทียบเคียงสายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2531 และ มอก. 11–2553

 

 

 

2.7 สรุปสาระสำคัญ

1. มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น มาตรฐาน IEC, BS, ANSI,NEMA, DIN, VDE, UL, JIS, AS เป็นต้น หรือเป็นชนิดที่ได้รับความเห็นชอบจากการไฟฟ้าฯ ก่อน โดยมาตรฐานที่อ้างอิงให้ยึดถือตามฉบับที่ปรับปรุงล่าสุด

2. มาตรฐานสายไฟฟ้าอ้างอิงตามมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 (EIT Standard 2001–45)และมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 (EIT Standard 2001–56) มีสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนและสายไฟฟ้าเปลือย

3. ประเภทของสายไฟฟ้า ถ้าแบ่งตามลักษณะตัวนำแบ่งเป็นสายเดี่ยวและสายตีเกลียว ถ้าแบ่งตามการใช้แรงดันไฟฟ้าแบ่งเป็นสายไฟฟ้าแรงต่ำและสายไฟฟ้าแรงสูง ถ้าแบ่งตามการหุ้มฉนวนแบ่งเป็นสายไฟฟ้าที่หุ้มฉนวนและสายไฟฟ้าที่ไม่หุ้มฉนวน

4. การกำหนดสีของสายไฟฟ้าหุ้มฉนวนระบบแรงต่ำมาตรฐานสายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2531 กำหนด ตัวนำนิวทรัลใช้สีเทาอ่อนหรือสีขาว สายเส้นไฟ ต้องใช้สายที่มีสีต่างไปจากตัวนำนิวทรัลและ ตัวนำสำหรับต่อลงดิน สายดินใช้สีเขียว หรือสีเขียวแถบเหลือง หรือเป็นสายเปลือย ส่วนสายไฟฟ้าตาม มอก. 11–2553 กำหนด ตัวนำนิวทรัลใช้สีฟ้า

5. การติดตั้งที่ใช้สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2531 แต่สายไฟฟ้าที่นำมาใช้เป็นสายที่ผลิตตาม มอก. 11–2553 อนุญาตให้ใช้ขนาดกระแสของสายตามตารางในมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2545 ได้และใช้สายไฟฟ้าตามมาตรฐาน มอก. 11–2553 แต่ในการติดตั้งอาจมีสายที่ผลิตตาม มอก. 11–2531รวมอยู่ด้วย อนุญาตให้ใช้ขนาดกระแสของสายตามตารางในมาตรฐาน วสท. พ.ศ. 2556 ได้