หน่วยที่ 8 การต่อลงดิน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8  การต่อลงดิน

 

1. สาระสำคัญ

8.1 ความจำเป็นของการต่อลงดิน

การต่อลงดินมีจุดประสงค์เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดกับบุคคล และความเสียหายที่อาจเกิดกับระบบไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า การต่อลงดินทำหน้าที่หลัก คือ

1. ลดความเสียหายของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบไฟฟ้า เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน การต่อลงดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เครื่องป้องกันทำงานได้ตามที่ได้ออกแบบไว้

        2. จำกัดแรงดันไฟฟ้าของวงจรไม่ให้สูงจนอาจทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหายเมื่อเกิดแรงดันเกินและลดแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นที่เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือส่วนประกอบ เนื่องจากการรั่วหรือการเหนี่ยวนำ เพื่อลดอันตรายต่อบุคคลที่อาจไปสัมผัสได้

8.2 ชนิดของการต่อลงดิน

8.2.1 การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า (System Grounding)

1. ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 50 โวลต์ แต่ไม่เกิน 1,000 โวลต์

2. วงจรและระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 1,000 โวลต์ขึ้นไป

8.2.2 การต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า (Equipment Grounding)

1. บริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ต้องต่อสายดิน

2. ส่วนประกอบของการต่อลงดิน

8.3 วิธีการต่อลงดินสำหรับสายไฟฟ้าภายในอาคาร

8.3.1 วิธีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้า

8.3.2 วิธีการต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้า

8.3.3 วิธีการต่อสายต่อหลักดิน

8.3.4 วิธีการวัดความต้านทานการต่อลงดิน

   8.4 สรุปสาระสำคัญ

 

2. สมรรถนะประจำหน่วย

   2.1 แสดงความรู้เกี่ยวกับการต่อลงดิน

          2.2 ปฏิบัติการวัดและทดสอบการต่อลงดิน

          2.3 เตรียมเครื่องมือได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

         2.4 เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

         2.5 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความละเอียด รอบคอบ และปลอดภัย

         2.6 แสดงพฤติกรรมถึงด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการ

สนใจใฝ่รู้

 

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ทั่วไป

1.1 เพื่อให้เข้าใจหลักการกลับทิศทางหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

1.2 เพื่อให้เข้าใจวิธีการควบคุมการกลับทิศทางหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

1.3 เพื่อให้มีทักษะการควบคุมการกลับทิศทางหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส

1.4 นักศึกษามีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความ

รับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

2.1 อธิบายความจำเป็นของการต่อลงดินได้

2.2 บอกชนิดของการต่อลงดินได้

2.3 อธิบายวิธีการต่อลงดินของระบบไฟฟ้าได้

2.4 อธิบายวิธีการต่อลงดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าได้

2.5 อธิบายวิธีการต่อสายต่อหลักดินได้

2.6 อธิบายวิธีการวัดความต้านทานการต่อลงดินได้

2.7 วัดความต้านทานการต่อลงดินได้

2.8 ใช้เครื่องวัดความต้านทานการต่อลงดินได้ถูกต้อง

2.9 แสดงออกถึงตรงต่อเวลาและทำงานเป็นกลุ่มได้

2.10 ความมีวินัย ความรักสามัคคีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความพึงพอใจในผลงานที่ทำ

2.11 นักศึกษาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบข้อตกลง และเข้าเรียนตรงเวลา

2.12 นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ มีความรับผิดชอบงานที่มอบหมาย และส่งงานตามกำหนดเวลา

4. สาระการเรียนรู้

8.1 ความจำเป็นของการต่อลงดิน

8.2 ชนิดของการต่อลงดิน

8.3 วิธีการต่อลงดินสำหรับสายไฟฟ้าภายในอาคาร