- การวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ

3.1 การวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ

             เป็นการประชุมระดมความคิดเพื่อวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ (Skill Gap) เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรทุกระดับต่อไป

             งบประมาณ

                   300,000 บาท (จากสำนักความร่วมมือ โดยโอนงบประมาณไปยังสถานศึกษาที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายเลขานุการ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพ นั้น ๆ)

             แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1. สำนักความร่วมมือกำหนดแนวทางการดำเนินการ โดยให้สถานศึกษาที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพ ดำเนินการประชุมคณะอนุกรรมการ ร่วมกับสถานศึกษาที่เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management : CVM)

             2. จัดสรรงบประมาณให้กับสถานศึกษาในการดำเนินการวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการตามกิจกรรมของศูนย์ฯ ต่อไป

             สถานศึกษา

             -   กรณีสถานศึกษาเป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)

                 1. จัดประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพ และเชิญสถานประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศเพิ่มเติม เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพที่สำคัญที่ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาต้องใช้ในการทำงานในโลกอาชีพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                 2. วิเคราะห์สมรรถนะวิชาชีพในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)

                 3. วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพตามหลักสูตรกับสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ จากข้อมูลที่ได้จากการประชุมระดมความคิดเห็น

                 4. สรุปผลการวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรต่อไป

             -   กรณีสถานศึกษาไม่ได้เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)

                  1. ประสานงานไปยังสถานศึกษาที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)

                 2. ฝ่ายเลขานุการ อ.กรอ.อศ. กลุ่มอาชีพ และสถานศึกษา ร่วมกันจัดประชุมคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพ และเชิญสถานประกอบการ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศเพิ่มเติม เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสมรรถนะวิชาชีพที่สำคัญที่ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษาต้องใช้ในการทำงานในโลกอาชีพ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

                 3. วิเคราะห์สมรรถนะวิชาชีพในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ (ทล.บ.)

                 4. วิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะวิชาชีพตามหลักสูตรกับสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ จากข้อมูลที่ได้จากการประชุมระดมความคิดเห็น

                 5. สรุปผลการวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรต่อไป

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

               1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ

               2. สำนักความร่วมมือ

               3. คณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพ ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ

               4. สถานศึกษาที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (กรณีที่สถานศึกษาไม่ได้เป็นฝ่ายเลขานุการ อ.กรอ.อศ.)

               5. ผู้แทนสถานประกอบการ ในสาขาอาชีพที่มีความเป็นเลิศ

               6. ฝ่ายวิชาการ / งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน / งานทวิภาคี / แผนกวิชา

               7. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ / งานความร่วมมือ

 

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             ความเข้มแข็งของคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา
(อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพ สถานประกอบการและภาคีเครือข่าย ในการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษา ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ผลการวิเคราะห์ช่องว่างสมรรถนะตามหลักสูตรกับสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการ เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศต่อไป