- จัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ
เป็นศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ สาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนและกำลังแรงงาน
4.1 การจัดตั้งศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC)
งบประมาณ
ให้บูรณาการงบประมาณกิจกรรมที่ 1 จากสำนักนโยบายและแผนอาชีวศึกษา
แนวทางในการดำเนินงาน (Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) และแผนการดำเนินงาน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC)
3. จัดประชุมชี้แจงนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน ให้กับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4. จัดพิธีเปิดศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) และพิธีลงนามความร่วมมือห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
สถานศึกษา
1. แต่งตั้งหัวหน้าศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) ภายใต้ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ ในโครงสร้างการบริหารสถานศึกษา ตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา พ.ศ. 2552
2. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) ของสถานศึกษา
3. จัดประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC)
4. ดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) ตามกิจกรรมที่กำหนด โดยการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายอย่างมีคุณภาพ
5. กำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามกิจกรรมภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) เป็นระยะๆ ตามที่ปฏิทินกำหนด
6. สรุปผลการดำเนินงานและประเมินผลตามกิจกรรมภายใต้ศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC)
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
2. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด
6. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
7. สถานประกอบการ
8. สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน
9. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
10. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ /งานส่งเสริมผลิตผลการค้าและประกอบธุรกิจ / งานความร่วมมือ
11. ฝ่ายวิชาการ / งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน / แผนกวิชา
12. ฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา
กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)
1. การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง
2. การกำหนดแผนการดำเนินงานและกลไกการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
สถานศึกษามีศูนย์พัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการ (Career & Entrepreneurship Center : CEC) เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาอาชีพและการเป็นผู้ประกอบการอย่างมีคุณภาพ
4.2 การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น
งบประมาณ
งบประมาณ 100,000 บาท (จากสำนักนโยบายและแผนอาชีวศึกษา)
แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จัดประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานอาชีพและระดับของคุณวุฒิวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
สถานศึกษา
1. สถานศึกษาประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานอาชีพและระดับของคุณวุฒิวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ให้กับผู้เกี่ยวข้อง
2. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานอาชีพและระดับของคุณวุฒิวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามมาตรฐานอาชีพและระดับของคุณวุฒิวิชาชีพที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
4. จัดทำประชุมบรรณาธิการกิจหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี
5. ขออนุมัติหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี จากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการวิทยาลัย
6. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน/ฝึกอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี
7. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน/การฝึกอบรม หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
2. หน่วยศึกษานิเทศก์
3. สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
4. สถานประกอบการ
5. ฝ่ายวิชาการ /งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน/ แผนกวิชา
กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)
การพัฒนาหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพ
ระยะสั้น พ.ศ. 2551 และการจัดการเรียนการสอนตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2558
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
สถานศึกษามีหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพเฉพาะ (ปวพ.) หรือหลักสูตรระยะสั้น 1 ปี และ
มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม ไม่น้อยกว่า 20 คน/รายวิชา
4.3 พัฒนาหลักสูตรและฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : E to E)
ดำเนินการฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้กับประชาชน เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ หรือต่อยอดที่ปฏิบัติงานได้จริง สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง ให้กับผู้ผ่านการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ ผู้ว่างงาน ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต้องการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะปฏิบัติงาน (Re-skill, Up-skill, New-skill) ร่วมกับสถานประกอบการ ก่อนที่จะทำงานในสถานประกอบการหรือในท้องถิ่นได้อย่างมีศักยภาพ โดยหลักสูตรจะเป็นรายวิชาในสาขาอาชีพที่ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ ตลาดแรงงาน ชุมชน
งบประมาณ
งบประมาณ 100,000 บาท (จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ)
แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ จัดประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E)) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามที่สถานประกอบการต้องการ
2. ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
สถานศึกษา
1. สถานศึกษาประชุมชี้แจงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E)) ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ตามที่สถานประกอบการต้องการ ให้กับผู้เกี่ยวข้อง
2. สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
4. จัดทำประชุมบรรณาธิการกิจหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
5. ขออนุมัติหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E)) จากผู้อำนวยการสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการวิทยาลัย
6. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน/ฝึกอบรมหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
7. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน/การฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E))
8. รายงานผลการดำเนินการโครงการให้สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
2. สถานประกอบการ
3. ฝ่ายวิชาการ /งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน / แผนกวิชา
4. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ / งานความร่วมมือ
กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)
การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E)) การพัฒนาหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2551 และการจัดการเรียนการสอนตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2558
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
สถานศึกษามีหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นฐานสมรรถนะ (Education to Employment : (E to E)) และนักเรียน ปวช.3 นักศึกษา ปวส.2 หรือประชาชนทั่วไป ที่มีความต้องการพัฒนาวิชาชีพในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ไม่น้อยกว่า 20 คน
4.3 ห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ห้องเรียนอาชีพเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความรู้และทักษะด้านอาชีพ เรียนจบแล้วสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ทันที หรือนำผลการเรียนไปโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามหลักสูตร สพฐ. และ สอศ. สอดคล้องกับระบบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยมีรูปแบบการจัดการศึกษาห้องเรียนอาชีพ คือ
รูปแบบที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและบูรณาการในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการจัดรายวิชาเพิ่มเติมอาชีพ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเกี่ยวกับอาชีพ การจัดโครงงานอาชีพ การจัดฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพ การเสริมทักษะอาชีพ ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ภายใต้การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาสังกัด สอศ. ตามระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียน โดยสถานศึกษาสังกัด สพฐ. สช. และ กศน. อาจนำผลการเรียนไปเทียบโอนผลการเรียนรู้หรือเทียบโอนความรู้ประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเมื่อผู้เรียนสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา สังกัด สอศ. อาจขอรับการประเมินเพื่อเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพตามหลักเกณฑ์การประเมินผลการเรียนตามลักสูตรที่ สอศ. กำหนด
รูปแบบที่ 2 การจัดการเรียนการสอนเพื่อการสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) โดยนำรายวิชาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา โดยความเห็นชอบร่วมกันกับสถานศึกษาสังกัด สพฐ., สช., กศน. ภายใต้การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาสังกัด สอศ. ตามระเบียบว่าด้วยการจัดการศึกษาและ
การประเมินผลการเรียน โดยสถานศึกษาสังกัด สพฐ. สช. และ กศน. อาจนำผลการเรียนไปโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเมื่อผู้เรียนสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษาสังกัด สอศ. สามารถโอนผลการเรียนเข้าสู่หลักสูตรได้ตามที่ สอศ. กำหนด
งบประมาณ
งบประมาณ 100,000 บาท (จากสำนักนโยบายและแผนอาชีวศึกษา) เฉพาะสถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง ที่จัดการเรียนการสอนโครงการทวิศึกษาเท่านั้น
แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา และสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ กำหนดแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
2. สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษาจัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานและจัดสรรงบประมาณสำหรับสถานศึกษาเฉพาะสถานศึกษา จำนวน 6 แห่ง ที่จัดการเรียนการสอนโครงการทวิศึกษา
3. จัดพิธีลงนามความร่วมมือห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สถานศึกษา
1. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้กับผู้เกี่ยวข้อง
2. สร้างความเข้าใจกับผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานโครงการห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
3. ลงนามความร่วมมือกับสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
4. ดำเนินการจัดการเรียนการสอนห้องเรียนอาชีพในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
5. สรุปและรายงานผล
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา
2. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
3. สำนักความร่วมมือ
4. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
7. ฝ่ายวิชาการ /งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน / งานวัดผลและประเมินผล / แผนกวิชา
8. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ / งานความร่วมมือ
9. ฝ่ายบริหารทรัพยากร / งานทะเบียน
กลไกการขับเคลื่อน (Key Driver)
1. การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายอย่างเข้มแข็ง
2. การกำหนดแผนการดำเนินงานและกลไกการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด
3. การพัฒนาหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. เรื่อง กรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2551 และการจัดการเรียนการสอนตามระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการจัดการศึกษาและการประเมินผลการเรียนตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น พ.ศ. 2558
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
นักเรียนระดับมัธยมศึกษามีความรู้และทักษะด้านอาชีพ สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพได้ หรือนำผลการเรียนไปโอนผลการเรียนหรือเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ตามหลักสูตรอาชีวศึกษาต่อไป
4.4 การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนในการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ (Netrepreneurs)
จัดฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ให้กับผู้เรียนทุกชั้นปี และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
งบประมาณ
งบประมาณ 100,000 บาท (จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ)
แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)
ส่วนกลาง
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์
2. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์
3. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ให้กับสถานศึกษา
4. ประสานความร่วมมือกับสถาบันการเงินเพื่อให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมเข้าถึงแหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจออนไลน์
สถานศึกษา
1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาและประชาชนในการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ (Netrepreneurs)
2. จัดประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ให้กับผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา
3. ประสานความร่วมมือกับสถานประกอบที่มีศักยภาพด้านการประกอบการบนแพลตฟอร์มการขายสินค้าออนไลน์ และวิทยากรที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ เพื่อนำมาเสริมสร้างศักยภาพให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมต่อไป
4. ประชาสัมพันธ์การฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ (Netrepreneurs)
ให้นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป
5. ดำเนินการฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ (Netrepreneurs) แก่ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ ในรูปแบบออนไลน์
6. ผู้ผ่านการฝึกอบรมจัดตั้งธุรกิจออนไลน์ และคณะกรรมการฯ ให้คำปรึกษาการดำเนินการธุรกิจออนไลน์และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างต่อเนื่อง
7. ติดตามผลการประกอบธุรกิจออนไลน์ของผู้ผ่านการฝึกอบรม
8. รายงานผลการดำเนินงานการฝึกอบรมการเป็นผู้ประกอบการออนไลน์ให้กับสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)
1. สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
2. สถานประกอบการ
3. สถาบันการเงิน
4. ฝ่ายแผนการงานและความร่วมมือ / งานส่งเสริมผลิตผลการค้าและประกอบธุรกิจ
5. ฝ่ายวิชาการ / แผนกวิชา
6. ชุมชน
กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)
การมีระบบการให้คำปรึกษาในการจัดตั้งและดำเนินธุรกิจออนไลน์ และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการออนไลน์อย่างต่อเนื่อง
เป้าหมายผลิตผล (Key Result)
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมผู้ประกอบการออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 100 คน