-. การจัดการเรียนรู้และการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

         เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าและพัฒนาศักยภาพ การวิจัยให้ครูผู้เรียนให้สามารถพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ โดยมีการบูรณาการกับการจัดการเยนการสอนและใช้หลักความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการวิจัย โดยผ่านกระบวนการจัดการเรียการด้วยวิธีการสอนแบบ Active Learning, PjBL, RBL และการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทย ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวัฒนธรรม อันดีงามของคนไทย

         8.1 การจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย

             งบประมาณ

                   5000 บาท (จากสำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา)

             แนวทางการดำเนินงาน (Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1. สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา/หน่วยศึกษานิเทศก์ จัดทำคำสั่งการจัดอบรมการกระบวนการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยวิธีการสอนแบบ Active Learning ,Pjbl ,RBL และสื่อการเรียนการสอน และแต่งตั้งคณะกรรมการตัดสิน และการประกวดการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย

             2. ประชุมวางแผนจัดการอบรมการกระบวนการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยวิธีการสอนแบบ Active Learning ,Pjbl ,RBL และสื่อการเรียนการสอน

             3. หน่วยศึกษานิเทศก์ ดำเนินการจัดอบรมการกระบวนการเรียนการสอน วิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ด้วยวิธีการสอนแบบ Active Learning ,Pjbl ,RBL และสื่อการเรียนการสอน และจัดประกวดการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย

             4. สรุปประเมินผล

             สถานศึกษา

             1. สถานศึกษาส่งครูผู้สอนรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทยเข้าร่วมอบรมกับหน่วยศึกษานิเทศก์

             2. ครูผู้สอน รายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ดำเนินการจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน

             3. ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ตามแผนการจัดการเรียนรู้

             4. วัดผลและประเมินผล

             5. ครูผู้สอนรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย ส่งกระบวนการจัดการเรียนการสอน เขาประกวดกับหน่วยศึกษานิเทศก์

             6. สรุปประเมิน

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา

             2. หน่วยศึกษานิเทศก์

             3. ครูผู้สอนในรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับรายวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย เป็นรายวิชาบังคับในหลักสูตรทั้ง 3 ระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรี

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ครูผู้สอน ผู้เรียน  ในสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ไม่น้อยกว่า  40 คน

         8.2 การพัฒนาครู ด้านการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             เป็นทักษะที่มีความจำเป็นของครูในการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ครูทุกคนต้องได้รับการพัฒนาสมรรถะในการจัดการเรียนการสอนแบบ RBL PjBl เพื่อพัฒนาผู้เรียนเกิดทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ

             แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             2. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             3. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา หน่วยศึกษานิเทศก์  ดำเนินการจัดอบรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             4. ติดตามประเมินผลและพัฒนา

             5. สรุปผลการดำเนินงาน

             สถานศึกษา

             1.    ส่งครูเข้าอบรมพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             2.    ครูผู้เข้ารับการอบรมนำความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอน RBL PjBL 

             3.    สรุปวัสดผลและประเมินผล

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

             2. หน่วยศึกษานิเทศก์

             3. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ /ฝ่ายวิชาการ/ฝ่ายบริหารทรัพยากร

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             จัดทำหลักสูตรอบรม การจัดการเรียนการสอน RBL PjBL  บรรจุลงในหลักสูตรคุรุพัฒน์

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ครูผู้สอนตามสาขาวิชาที่มีความเป็นเลิศ ไม่น้อยกว่า  5 คน

 

         8.3 พัฒนานวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์ ของนักเรียน นักศึกษา (โจทย์กำหนดในสถานการณ์โควิด)

             แนวทางการดำเนินงาน ( Key Activity)

             ส่วนกลาง

             1.    กำหนดนโยบายในการจัดทำสิ่งประดิษฐ์ประเภทกำหนดโจทย์สถานการณ์โควิด กำหนดรูปแบบนำเสนอโครงการสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่

             สถานศึกษา

             1. แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ กำหนดในสถานการณ์โควิด

             2. จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่กำหนดในสถานการณ์โควิด)

             3. ดำเนินการจัดทำผลงานสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่กำหนดในสถานการณ์โควิด)

             4. ติดตามการดำเนินงานและการนำไปใช้ประโยชน์

             5. ติดตามประเมินผลและพัฒนา

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

             2. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ/ งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

             3. ฝ่ายวิชาการ/ แผนกวิชา

             ผู้ที่เกี่ยวข้อง (Key Partner)

             1. สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา

             2. ฝ่ายแผนงานและความร่วมมือ งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

             3. ฝ่ายวิชาการ / แผนกวิชา

             กลไกการขับเคลื่อน ( Key Driver)

             กำหนดให้สถานศึกษาในกลุ่มศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (CVM) จัดทำสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประเภทกำหนดโจทย์สถานการณ์โควิด  สถานศึกษาละ 2 ชิ้นงานไว้ในระบบงานประกันคุณภาพของสถานศึกษา

             เป้าหมายผลิตผล (Key Result)

             ผลงานโครงการสิ่งประดิษฐ์ของคนรุ่นใหม่ ประเภทกำหนดโจทย์สถานการณ์โควิด  จำนวน 2 ผลงาน