บทความการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล

การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล (Efficiency in Online Learning Management of Digital Age) โดย... ดร. เจริญ ภูวิจิตร์*

                  นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ การจัดเรียนการเรียนรู้ทางออนไลน์ในยุคดิจิทัล เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ เปลี่ยนแปลงวิธีเรียนที่เป็นอยู่เดิมเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าสำหรับการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งการ สอนแบบออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการ จัดการเรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและ การประเมินผล โดยรูปแบบการเรียนการสอนมีหลากหลายวิธี ที่จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ การ พิจารณาองค์ประกอบและรูปแบบ ที่สอดคล้อง เหมาะสมกับลักษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่ การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงพื้นที่การเรียนรู้เป็นเรื่องที่เห็นได้ ชัดเจนที่สุด ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันและนวัตกรรมที่สร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content) อำนวยความ สะดวกการสอนได้แค่ปลายนิ้ว ทำให้เราสามารถเรียนรู้ทุกเนื้อหาได้จากทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อไปสู่ เป้าหมายเดียวกันในการเรียนรู้วิถีใหม่ (New Normal) เป้าหมายของการศึกษาอาจยังคงเดิมแต่ผู้เรียน สามารถใช้วิธีที่แตกต่างในการไปให้ถึงจุดหมายได้นักศึกษาบางคนอาจเรียนรู้ได้เร็วกว่าหากได้ดูภาพ หรือคลิปวิดีโอ แต่นักศึกษาบางคนอาจชอบการฟังอาจารย์บรรยาย เพราะรูปแบบการเรียนรู้ของแต่ละ คนไม่เหมือนกัน การกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินการเรียน การสอนให้ไปได้ย่อมแสดงให้เห็นถึงการบริหารรูปแบบการเรียนการสอนหลังโควิด-๑๙ (Social Distancing) และการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความปกติใหม่ (New Normal) มีความสำคัญต่อ การบริหารจัดการ ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นต้องการการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ เรียนรู้(Change Learning) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ที่ เกิดขึ้น1 และด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา และเกิดการแพร่หลายของแนวทางจัดการเรียนรู้ออนไลน์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสารสนเทศขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้แก่นักเรียน ต่างก็มีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใหม่ * หัวหน้ากลุ่มพัฒนามาตรฐานและส่งเสริมเครือข่าย สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ 1 สุวิมล มธุรส, การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19 (Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19), ปีที่ 15 ฉบับที่ 40 พฤษภาคม – มิถุนายน 2564 - TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปี2563-2567, Rajapark Journal Vol. 15 No. 40 May - June 2021. หน้า 35. file:///C:/Users/user/Downloads/250336-Article%20Text-892063-1-10- 20210512.pdf 2 อย่างทันท่วงที พร้อมรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ฉะนั้น การเตรียมการ และการฝึกฝนทักษะของครูไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร การถ่ายทอด และการเป็น ผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักเรียน โดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุดจึงเป็น เรื่องสำคัญ ทั้งนี้ แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning มาจากแนวคิดของการเรียน การสอนทางไกล (Distance learning) ซึ่งมีมากกว่า ๑๐๐ ปีเริ่มจากการเรียนทางไปรษณีย์เมื่อปีค.ศ. ๑๘๔๐ มีการรับส่งบทเรียนผ่านระบบไปรษณีย์ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ห่างไกลได้เรียน แต่ประสบ ปัญหาในการติดต่อที่ใช้เวลานานและบางครั้งเอกสารสูญหายระหว่างทาง ต่อมามีการเปิด Home-study program ทางไปรษณีย์สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนจากบ้านหรือผู้ที่อยู่ห่างไกลสถานศึกษา จนถึงปัจจุบัน มี การเปิดสอนในลักษณะมหาวิทยาลัยเปิดที่ผู้เรียนไม่ต้องมาเรียนในห้องเรียน เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการศึกษามากขึ้นในปีค.ศ. ๑๙๖๐ จึงมีการพัฒนาแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์และ โสตทัศนวัสดุเป็นสื่อการเรียนการสอนเช่น เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง และต่อมาเป็นการใช้ซีดีรอม ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้ในวงการศึกษ าเรียกว่า CAI (Computer - Aides Instruction) และ CBT (Computer - Based Training) ใช้ในการฝึกอบรม ในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม ในปีค.ศ. ๑๙๙๐ เป็นต้นมา เมื่อการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายผ่านโปรแกรมแสดงผล (Web browser) และโปรโตคอล TCP/IP จึงมีการพัฒนาการเรียนการสอนผ่าน World Wide Web โดยใช้ในวงการศึกษาว่า Web - based education หรือ Web - based instruction หรือ Web - based learning และใช้ในวงการธุรกิจ ว่า Web - based training เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์จึงมีการใช้คำว่า Online training หรือ Online learning ซึ่ง Online training เป็นส่วนหนึ่งของ e-Learning ในปีค.ศ. ๒๐๐๐ เป็น ต้นมาคำว่า e-Learning เริ่มแพร่หลายจากการที่บริษัท Cisco (http://www.ciscolearning.org/) ได้เริ่ม แนะนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning เพื่อใช้ในการฝึกอบรมโปรแกรมการอบรมพนักงานของ บริษัท e-Learning มาจากคำว่า Electronic learning หรือ Online learning เป็นการทำงานในลักษณะ Technology - based learning เป็นกระบวนการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตเสมือนการเรียนในห้องเรียนแต่ เป็นการส่งเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งรวมถึงอินเทอร์เน็ตจึงเป็นการผสมผสานการเรียนรู้และ เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน มีการติดต่อโดยตรงระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ซึ่งการติดต่อหรือการปฏิสัมพันธ์ (Interactivity) ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนนี้เป็นหัวใจของ e-Learning ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีe-Learning จึงเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ เครือข่าย อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาดาวเทียม (Satellite) ก็ ได้ซึ่งเนื้อหาบทเรียนได้บันทึกไว้ในรูปแบบใหม่ ลักษณะของ e-Learning เป็นการเรียนรู้อย่างไม่เป็น ทางการ ช่วยให้ผู้เรียนเลือกเรียนในเวลาที่สะดวก มีความรวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเรียนรู้ หรือฝึกอบรม เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน และประหยัดเวลา ทำให้เกิดความ 3 สะดวกในการเรียนรู้หรือฝึกอบรมในระหว่างการทำงาน เป็นการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาประสิทธิภาพของ ตนเองได้ดียิ่งขึ้น2 ปัจจุบันการเรียนรู้เริ่มมาให้ความสำคัญกับการเรียนผ่าน e-Learning หรือผ่านทาง ออนไลน์กันมากขึ้น การเรียนรู้ออนไลน์จึงช่วยทำให้การเรียนง่ายและสะดวกขึ้น ขอแค่มีอินเทอร์เน็ต เข้าถึงทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง รวมถึงไม่ต้องเสียเวลาทิ้งคอร์ สไปฟรีๆ หากมีธุระสำคัญเข้ามาแทรกในช่วงระหว่างที่เรียนเหมือนการเรียนในห้องเรียน แต่ทราบ หรือไม่ว่าการจัดการเรียนรู้ ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลนมีรูปแบบแนวทางอย่างไร กันบ้าง ซึ่งลักษณะสำคัญของการเรียนรู้ทางออนไลน์ (Online learning) คือ ผู้เรียนเป็นใครก็ได้ อยู่ที่ใด ก็ได้ เรียนเวลาก็ใด เอาตามความสะดวกของผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงเรียนออนไลน์ได้เปิดเว็บไซต์ ให้บริการตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีสื่อทุกประเภทที่นำเสนอในเว็บไซต์ ไม่ว่าจะทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง VDO ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยัง ทำให้เห็นภาพของเนื้อหาต่าง ๆ มากขึ้น ผู้เรียนสามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความต้องการ เอกสารบน เว็บไซต์ที่มี Links ต่อไปยังแหล่งความรู้อื่น ๆ ทำให้ขอบเขตการเรียนรู้กว้างออกไป และเรียนอย่างรู้ลึก มากขึ้น ซึ่งย่อมมาจากการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงกระนั้นการจัดการเรียน การสอนออนไลน์เป็นสิ่งใหม่ในการรับรู้ของบุคคลทั่วไป แต่สำหรับแวดวงการศึกษาได้รับรู้และตระหนัก ถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ แล้ว ด้วยกระบวน ทัศน์การเรียนการสอนในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ที่มีการปรับตัวทีละน้อย แต่เมื่อมีการแพร่ระบาดของไวรัส โคโรน่า ๒๐๑๙ จึงได้มีการปรับใช้ในอัตราที่เร่งขึ้น การออกแบบบทเรียน การจัดการห้องเรียน การใช้สื่อ ในการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน ถึงแม้จะมีปัญหา และอุปสรรค ในการปฏิบัติ แต่ต้องยอมรับว่าการจัดการเรียนการสอนออนไลน์เป็นวิถีใหม่ที่จะเป็นไปของการศึกษา ไทยในกระแสปัจจุบัน ดังนั้น ทักษะในการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ของครูผู้สอนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง วัตถุประสงค์ของการศึกษาในครั้งนี้มีดังนี้ ๑. เพื่อทราบถึงการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล ๒. เพื่อให้สามารถนำประโยชน์จากการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพไป ประยุกต์ใช้ต่อไปได้ วิธีดำเนินการศึกษาเป็นการทบทวนผลการศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมี ประสิทธิภาพทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ผ่าน ออนไลน์ต่อไป ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเรียนการสอนใน รูปแบบปกติและส่งผลต่อการเลื่อนเปิดสถานศึกษา และเกิดการแพร่หลายของแนวทางจัดการเรียนรู้ ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสารสนเทศขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น ครูผู้สอนในฐานะผู้ถ่ายทอด องค์ความรู้ให้แก่นักเรียนต่างก็มีการปรับตัว และเตรียมทักษะเพื่อรับมือกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ แบบใหม่อย่างทันท่วงที พร้อมรับกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นได้อยู่เสมอ ทักษะในการ 2 ee-library 01, ความเป็นมาและแนวคิดของ e-learning, https://sites.google.com/site/eelibrary01/bth-thi-7/7-1 4 จัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือระบบปฏิบัติการรูปแบบต่างๆ ที่อาศัยการบริหารจัดการ ห้องเรียนซึ่งแตกต่างไปจากห้องเรียนปกติในโรงเรียนนั้น ทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของครูที่สำคัญ อย่างยิ่งในการจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นแผนการสอน สื่อการสอน และกระบวนการจัดการเรียนรู้ สามารถสรุปได้ดังนี้ ๑. ทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการสร้างสรรค์ เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนกับการเรียนผ่านเครือข่าย มีความท้าทายที่แตกต่างกันอย่างมาก การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาเป็นสื่อหรือเป็นช่องทางหลักในการ ถ่ายทอดความรู้ และกระบวนการคิด แทนที่การถ่ายทอดและรับรู้รับฟังข้อมูลแบบต่อหน้านั้น จึงควร จัดเตรียมความพร้อม และทักษะการใช้เทคโนโลยี และโปรแกรมแอพพลิเคชันต่างๆ เป็นอย่างดี สามารถ เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการจัดการสอน เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ หากครูผู้สอนมีทักษะ การใช้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวในเบื้องต้น ได้แก่ วิธีการใช้ งาน ข้อดีหรือจุดเด่น ข้อเสียหรือจุดด้อยของแต่ละโปรแกรมหรือแอพพลิเคชันออนไลน์ในการจัดการ เรียนการสอน ความรู้เรื่องการเข้าใช้และเทคนิคการแก้ไขปัญหาระบบอินเทอร์เน็ตในเบื้องต้น ความ เข้าใจในเรื่องลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาในการคัดลอกนำข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ การออกแบบเนื้อหา การเรียน และช่องทางการสื่อสารที่สอดคล้องกับความสามารถของแอพพลิเคชันหรือโปรแกรมออนไลน์ เป็นอย่างดี รวมทั้งถ่ายทอดทักษะการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านั้นให้แก่นักเรียนได้มีความสามารถในการ แก้ไขปัญหาขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการสอน จะทำให้การเรียนการสอนดำเนินการได้อย่าง ราบรื่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประกอบกับทักษะอื่นๆ ควบคู่กันอีกด้วย ๒. ทักษะการสื่อสารที่หลากหลาย ด้วยสภาพแวดล้อมของการเรียนผ่านเครือข่าย และโปรแกรมออนไลน์ต่างๆ ที่อาจจะ ก่อให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสาร และการตีความได้ ดังนั้น ประเด็นเรื่องทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน ตรง ประเด็น และเข้าใจง่าย โดยอาจใช้ภาพ วิดีโอ หรือตัวอย่างสื่อออนไลน์ประเภทอื่นๆ ที่ช่วยให้นักเรียน เข้าใจได้มากที่สุดภายในขอบเขตระยะเวลาที่จำกัด ยิ่งไปกว่านั้นครูควรเพิ่มความถี่ในการสื่อสารกับ นักเรียน และผู้ปกครอง ที่มากกว่าการสื่อสารในช่วงการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนปกติ ซึ่งปรับใช้การ สื่อสารทั้งแบบทางการ และกึ่งทางการเพื่อสร้างความร่วมมือ และการสนับสนุนการเรียนรู้ระหว่างครู นักเรียน และผู้ปกครองให้พัฒนาไปพร้อมกัน ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันในแนวทางและแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นระหว่างกันเพื่อจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุด ๓. ทักษะการบริหาร และจัดเวลาการเรียนที่ยืดหยุ่นแต่มีประสิทธิภาพ ประเด็นเรื่องการจัดการเวลาในการเรียน และการนับชั่วโมง ซึ่งอาจมีความแตกต่างไป จากการจัดเวลาในการเรียนในชั้นเรียนปกติที่ในแต่ละวันจะมีการจัดการเรียนรู้หลากหลายวิชา โดยที่แต่ ละวิชาใช้เวลาไม่เกิน ๑ ชั่วโมง ในทางกลับกันความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ของนักเรียนบางส่วนที่ อาจจะต้องพึ่งพาการดูแล และอำนวยความสะดวกจากผู้ปกครอง ก็ต้องมีการปรับเวลาเรียนตามความ เห็นชอบร่วมกันภายในชั้นเรียน ทำให้ต้องสื่อสารเรื่องการจัดการเวลาของการเรียน และการนับชั่วโมง เรียนใหม่ ดังนั้น ครูผู้สอนจะต้องทำการบริหารเวลาในการสอนให้เหมาะสม และมีคุณภาพ อาจพัฒนา 5 และออกแบบการเรียนการสอน ที่ใช้เวลาน้อยลงแต่ยังคงเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการศึกษาจากสื่อ ต่างๆ ที่ครูมอบหมาย หรือเรียนรู้ผ่านค้นคว้าข้อมูล ไม่ว่าจะใช้วิธีการใดก็ตามแต่ต้องยึดตัวผู้เรียนเป็น หลักในการจัดการเรียนการสอน แนวทางและวิธีการการเรียนรู้ทำให้นักเรียนที่มีลักษณะการเรียนรู้ และ ความถนัดที่หลากหลายสามารถพัฒนาทักษะสำคัญจากกระบวนการที่ครูออกแบบขึ้นทั้งสิ้น ๔. ทักษะการจับประเด็นและการคิดวิเคราะห์ เนื่องจากอุปสรรค และข้อจำกัดด้านเวลาในการเรียนรู้ การถ่ายทอด และการฝึกฝนให้ นักเรียนสามารถจับสาระ และทักษะสำคัญอันเป็นใจความหลักของเรื่องบทเรียนนั้น ถือเป็นอีกหนึ่ง แนวทาง ที่ครูผู้สอนจะสามารถจัดการเรียนรู้ภายในระยะเวลาที่จำกัดได้ ปริมาณเวลาหรือการถ่ายทอด สาระข้อมูล จากครูที่ลดน้อยลง จะไม่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคในการเรียนรู้ของนักเรียน หากนักเรียน เข้าใจ และมีทักษะในการจับประเด็นหรือสาระสำคัญของเรื่องที่เรียน หรือจากสื่อที่ศึกษาเพิ่มเติมได้ ยิ่ง ไปกว่าทักษะการจับประเด็นสาระสำคัญแล้วนั้น การฝึกฝนทักษะคิดวิเคราะห์ อย่างมีเหตุมีผล ความกล้า คิดกล้าแสดงออกบนฐานของการศึกษา และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จะช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ และพัฒนาต่อยอดทักษะความสามารถด้วยตนเองเป็นอย่างดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นครูจะต้องมีการ ติดตามการเรียนรู้หรือการทำรายงานอยู่เสมอ อาจจะมีการสื่อสารหรือนัดหมายให้ตอบข้อคำถาม หลังจากการศึกษาและค้นคว้าสื่อที่ได้มอบหมายให้เป็นระยะ ๆ เป็นต้น ๕. ทักษะการประเมินผล และให้คำแนะนำที่มีคุณภาพและเหมาะสม นอกจากทักษะข้างต้นที่ครูต้องเตรียมความพร้อมต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย ออนไลน์แล้วนั้น ประเด็นเรื่องการประเมินผลและให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนานักเรียนได้อย่างเหมาะสม กับความสามารถและความถนัดของแต่ละคนก็ยังถือเป็นประเด็นที่ครูผู้สอนจะต้องมีการจัดการที่ดี โปร่งใสและเป็นที่รับรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามการประเมินผลหรือการตัดสินผลคะแนนของนักเรียน อาจจะ ต้องมีการปรับโครงสร้างคะแนน และลักษณะเนื้อหาตามตัวชี้วัดที่แตกต่างจากที่เคยใช้ในห้องเรียน ตัวชี้วัดตามหลักสูตรต้องการประเมินนักเรียนในด้านใด ครูจะต้องปรับลักษณะของงาน และการทำ กิจกรรมที่มอบหมายนั้นให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดมากยิ่งขึ้น เพื่อการพัฒนานักเรียนไป ตามเป้าหมาย โดยปรับใช้วิธีการที่มอบหมายงาน การเตรียมการและการฝึกฝนทักษะของครู ไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร และการถ่ายทอด การเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับ การจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติ หน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักเรียนโดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่ และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุด3 ฉะนั้นเพื่อให้การจัดการสอนออนไลน์มีประสิทธิภาพและมีผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น พบว่ามี ๘ วิธี สอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี4 ดังนี้ 3 กนกวรรณ สุภาราญ, ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่, https://www.educathai.com/knowledge/articles/372 4 ครูแนน, 8 วิธีสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี, https://www.xn--12cg5gc1e7b.com/24199/ 6 ๑. กำหนดแนวทางที่ชัดเจน การเรียนออนไลน์ทำให้นักเรียนมีอิสระมากขึ้น ดังนั้น ผู้สอนต้องกำหนดแนวทางที่ ชัดเจนสำหรับนักเรียน ทั้งในการเข้าถึงการสอนออนไลน์ของผู้สอน เช่น เครื่องมือในการเรียน แหล่ง ดาวน์โหลดเอกสารการเรียน รวมไปถึงตารางเวลาในการสอน รวมไปถึงความคาดหวังที่จะได้รับจาก นักเรียน เช่น การทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ การมีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์ เป็นต้น ๒. ออกแบบการสอนที่น่าสนใจ แรงจูงใจในการเรียนและการมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญทั้งในรูปแบบการสอนแบบตัวต่อตัว หรือการสอนออนไลน์ ดังนั้นการทำให้นักเรียนตั้งใจขณะเรียนออนไลน์มากขึ้นนั้น ผู้สอนจำเป็นต้อง วิเคราะห์ ความต้องการของผู้เรียน เพื่อออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ ตลอดจนการหากิจกรรมการเรียนรู้ และการแก้ปัญหาทางเทคนิคที่เหมาะสม ใช้เทคนิคการสอนอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาประสบการณ์การ เรียนรู้ที่ดีของนักเรียน ๓. เลือกเครื่องมือการสอนที่เหมาะสม เครื่องมือการสื่อสารออนไลน์เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการสร้างห้องเรียนออนไลน์ มี ซอฟท์แวร์มากมายในปัจจุบัน เครื่องมือการสอนที่ดีจะช่วยให้การสอนออนไลน์ของผู้สอนเป็นไปได้อย่าง ราบรื่น เช่น บางซอฟท์แวร์จะมีกระดานสนทนา จอแสดงเอกสารการสอน รวมไปถึงการบันทึกการสอน ทั้งหมดไว้ได้อีกด้วย ๔. กระตุ้นให้นักเรียนทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ กระตุ้นให้นักเรียนได้สื่อสารกันระหว่างที่เรียนออนไลน์ โดยการให้พวกเขาทำโปรเจกต์ หรือ มอบหมายงานให้ทำร่วมกัน ผ่านกระดานสนทนาหรือการประชุมออนไลน์ ก็จะช่วยให้ผู้เรียนได้สื่อสาร กันและรู้สึกว่าเหมือนอยู่ในห้องเรียนจริงๆ ซึ่งถือเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมที่ดีอีกด้วย ๕. ใช้ประโยชน์จากการทำงานทั้งแบบกลุ่มและแบบเดี่ยว การผสมผสานที่ดีของงานกลุ่มและงานเดี่ยวเป็นวิธีที่ดี ที่จะทำให้มั่นใจว่าการเรียนรู้ ออนไลน์นั้นประสบความสำเร็จ รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายนี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ ของนักเรียน และสอนพวกเขาถึงความสำคัญของการบรรลุเป้าหมายการทำงานกลุ่มและการสร้าง ความสำเร็จส่วนบุคคล ๖. ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เนื่องจากนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต และอินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าสู่ ห้องเรียนออนไลน์อยู่แล้ว ทรัพยากรที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับพวกเขาก็คือ สิ่งที่อยู่บนโลกออนไลน์ ผู้สอน อาจจะให้พวกเขาค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องบนเว็บไซต์ต่างๆ แทนการอ้างอิงจากหนังสือตำรา ๗. มีการปิดการสอน การปิดการสอนด้วยการให้นักเรียนสรุปหรือประเมินเป็นวิธีที่ดี ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนได้ สะท้อนสิ่งที่เรียนรู้ และให้นักเรียนได้ไตร่ตรองเนื้อหา และแชร์ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อให้ทุกคนตระหนัก ถึงสิ่งที่พวกเขาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้หรือจากรายวิชานี้ ๘. ให้นักเรียน Feedback 7 ในช่วงสัปดาห์ที่ ๒ หรือ ๓ ผู้สอนควรขอความเห็นจากนักเรียนโดยตรงเกี่ยวกับสิ่งที่ เกิดขึ้น และควรจะให้นักเรียนแสดงความเห็นให้ครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่เนื้อหา ไปจนถึงวิธีการสอน และสิ่งที่ต้องปรับปรุง โดยอาจจะให้นักเรียนโพสต์ความคิดเห็นลงบนกระดานสำหรับการ Feedback โดยเฉพาะ จากบ ท ความโดย Wei Bao ซึ่งตีพิ มพ์ ใน วารสาร Human Behavior and Emerging Technologies เกี่ยวกับกรณีศึกษาการเรียนการสอนออนไลน์ของ Peking University ได้สรุป ๖ เคล็ดลับ ในการเรียนออนไลน์ไว้ดังนี้ ๑. เตรียมแผนการเอาไว้ล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ในการเรียนการสอนที่เราไม่คุ้นชินนักย่อมสามารถเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงหรือปัญหา ต่างๆ ที่ไม่คาดคิด ไม่ว่าจะด้วยความไม่พร้อมของอุปกรณ์ หรือเครือข่าย ความหนาแน่นของจำนวน ผู้ใช้งาน จนทำให้ไม่ว่าจะค้าง หรือไหนจะหลุด ไหนจะติดจะขัด เสียงไม่มา ภาพไม่มี เรียกได้ว่ากว่าจะ แก้ปัญหาก็หมดไปแล้ว เสียครึ่งคาบ ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ล่วงหน้าและตระเตรียม แผนการเอาไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ในฐานะครูอาจารย์ทุกท่านคงทราบดีว่าการเสียเวลาไป ๑ หรือ ๒ คาบ นั้นสามารถทำให้แผนที่วางเอาไว้ล่าช้าออกไปได้เรื่อยๆ จะนัดผู้เรียนมาเรียนใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น อย่าลืมเตรียมความพร้อมก่อนเข้าชั้นเรียนกันด้วย ๒. แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการจดจ่อของนักเรียน ในประเทศจีนนั้นก็ไม่ได้ต่างไปจากบ้านเรามากนัก พวกเขาเองก็มีเนื้อหาที่ต้องทำการ เรียนการสอนที่เข้มข้นตลอดทั้งคาบเรียน แต่เมื่อพวกเขาต้องทำการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่ง ปัญหาที่มักพบ คือ ไม่สามารถควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ และเด็กๆ มักจะเกิดอาการสติหลุด ลอยอยู่บ่อยครั้ง และวิธีแก้ที่ดูเหมือนจะได้ผลดีก็คือการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อยๆ หมายความว่า คณาจารย์อาจจะต้องทำงานหนักเพื่อจัดสรรหัวข้อเรียบเรียงเนื้อหากันเสียใหม่ และช่วงระยะเวลาที่ เหมาะสมของแต่ละหัวข้อนั้นอยู่ที่เวลาประมาณ ๒๐ - ๒๕ นาที ๓. ใช้เสียงสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เราอาจเคยควบคุมบรรยากาศภายในห้องเรียนได้ด้วยอวัจนภาษาต่างๆ และคณาจารย์ ทุกท่านก็ทราบดีอยู่แล้วว่าโทนเสียงนั้นก็เป็นส่วนสำคัญอย่างมาก แต่ยิ่งเมื่อต้องมาสอนในชั้นเรียน ออนไลน์แล้ว เสียงนั้นกลับยิ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเมื่อทุกท่านอยู่หลังหน้าจอ อวัจ นภาษาต่างๆ ก็แทบจะหมดความสำคัญ ดังนั้น ส่วนที่เป็นคีย์เวิร์ดหรือเนื้อหาสำคัญที่ต้องการเน้นย้ำ ทุก ท่านควรลองพูดให้ช้าลงหรือพูดซ้ำบ่อยครั้งขึ้น ๔. ปฏิบัติงานร่วมกับผู้ช่วยสอน และลองขอความช่วยเหลือจากทีมสนับสนุน หนึ่งในปัญหาสำคัญของการเรียนการสอนออนไลน์คือ ความไม่เชี่ยวชาญในด้าน เทคนิคและเทคโนโลยี ปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง บางครั้งก็ไม่ทราบเลยว่าอีกฝั่งได้ยินเราไหม เรา ยังอยู่ในหน้าจอไหม ต้องกดปุ่มตรงไหนต่อบ้าง ในบางสถานศึกษาก็ทำคู่มือประกอบการใช้งานมาให้ แต่ จะดีกว่าหรือไม่ถ้าหากมีทีมช่วยสนับสนุนอยู่ข้างๆ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการทำให้การเรียนการสอน 8 ราบรื่นมากยิ่งขึ้น ช่วยคิดคำนวนคะแนน ทำการประกาศผลคะแนน รวบรวมสรุป จัดส่งเอกสารสำหรับ การเรียน และอื่นๆ อีกมากมาย สถานศึกษาไม่ควรผลักภาระความรับผิดชอบให้แก่คณาจารย์ และให้ ท่านเผชิญปัญหาในการเรียนรู้อยู่เพียงลำพัง ๕. เสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน หากเทียบกับการเรียนการสอนในรูปแบบปกติแล้ว การเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้น ควบคุมได้ยากกว่ามาก จึงมักพบเห็นผู้เรียนไม่เข้าร่วมชั้นเรียน ดังนั้นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้การเรียนการ สอนแบบออนไลน์ประสบผลสำเร็จ คือ การเรียนรู้เชิงรุกนอกห้องเรียน ซึ่งมีวิธีการหลากหลาย เช่น แบบฝึกหัด หรือการบ้าน การทำโครงงาน โครงการ เป็นต้น ๖. บูรณาการเรียนการสอนแบบออนไลน์ร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง ในการเรียนการสอนรูปแบบปกติ การสนทนาโต้ตอบกันระหว่างคุณครูกับนักเรียนคง เป็นเรื่องปกติ แต่สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์นั้น ถือเป็นเรื่องที่ยากด้วยข้อจำกัดของการ แทรกซ้อนของเสียงที่จะทำให้บรรยากาศภายในห้องเรียนดูปั่นป่วนไปหมด เพื่อเป็นการแก้ปัญหา ทาง สถานศึกษาควรจัดแบ่งการเรียนการสอนออกเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่งคือการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ ระยะที่สองการเรียนรู้ในชั้นเรียนแบบออนไลน์ ในส่วนของการเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น ผู้เรียนมีความจำเป็นที่จะต้องทำการอ่านเนื้อหามา ก่อนล่วงหน้า เพื่อให้ได้ทราบว่าผู้เรียนมีความไม่เข้าใจตรงส่วนใดของเนื้อหา เมื่อทางผู้สอนทราบได้ถึง ปัญหาความไม่เข้าใจต่างๆ พวกท่านจึงจะสามารถออกแบบการเรียนการสอนในส่วนเนื้อหาวิชานั้นได้ ถูกต้องโดยเน้นไปในส่วนที่เกิดความสงสัยมากที่สุด เรียกได้ว่าจากที่เคยถามถึงความสงสัยในเนื้อหา หลังคาบเรียน เปลี่ยนเป็นอ่านมาก่อนแล้วหากสงสัยตรงไหนจึงค่อยสอบถามมาในรูปแบบ “Flipped Classroom”5 การเลือกแพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ อย่างไรก็ตามในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์การเลือกแพลตฟอร์มการจัดการเรียน การสอนผ่านออนไลน์เป็นสิ่งสำคัญ คือ “ระบบสื่อสาร” ต้องมีความเข้าใจที่ตรงกันระหว่าง ผู้สอนกับ ผู้เรียน การเลือกใช้แพลตฟอร์มในการใช้สอนซึ่งแพลตฟอร์มการสอนในแต่ละแพลตฟอร์มมีค่าใช้จ่ายใน การเปิดใช้ Account ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องทำเรื่องจัดซื้อจัดจ้างเพื่อขอเปิดใช้งานเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพการทำงานของแพลตฟอร์มอย่างเต็มประสิทธิภาพจึงจำเป็นต้องเลือกใช้เพียงแพลตฟอร์ม เดียว ทั้งนี้การเลือกใช้แพลตฟอร์มจะต้องเป็นไปตามความต้องการของบุคลากรส่วนใหญ่ที่มีความถนัด และใช้งานสะดวก ซึ่งการเลือกใช้แพลตฟอร์มเดียวทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้เรียน และการเลือกใช้ แพลตฟอร์มใด ๆ ก็ตาม จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมในการใช้งานให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ให้สามารถใช้งาน คล่องและมีประสิทธิภาพ6 5 Chala Communication Center (CCC), ๖ เคล็ดลับในการเรียนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพ, ข่าวสารจุฬา, https://www.chula.ac.th/news/40851/ 6 จักรกฤษณ์ โพดาพล, การจัดการเรียนรู้ออนไลน์:วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, หน้า 7. https://slc.mbu.ac.th/wp-content/uploads/2020/06/94.pdf 9 การศึกษาเอกสารงานวิจัย จากการศึกษาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ในงานวิจัยในประเทศ พบว่า วิทยา วาโย , อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา คนใหญ่ (๒๕๖๓) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง “การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID๑๙ : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน” พบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร นา ๒๐๑๙ (Coronavirus Disease 2019: COVID-19) ทำให้เกิดการปรับตัวเป็นวิถีชีวิตแบบใหม่ (New Normal) โดยเฉพาะสถาบันทางการศึกษาที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนแบบปกติได้ จึงจำเป็นต้อง ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อให้การเรียนรู้เกิดความต่อเนื่อง การเรียนการสอนแบบ ออนไลน์มีองค์ประกอบ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา สื่อการเรียนและแหล่งเรียนรู้กระบวนการจัดการ เรียนรู้ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและ การประเมินผล รูปแบบ การเรียนการสอนมีหลากหลายวิธี ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้ การพิจารณา องค์ประกอบและรูปแบบที่สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะวิชา และบริบทของผู้เรียนจะนำไปสู่การ ประยุกต์ใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์ การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์7 สิริพร อินทสนธิ์ (๒๕๖๓) ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง “โควิด - ๑๙ : กับการเรียนการสอน ออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ” (COVID - 19 and Online Teaching case study: Web Programming Course) ซึ่งผู้เขียนมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ ไวรัสโคโรน่า ๒๐๑๙ กับการเรียนการสอนออนไลน์ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ ซึ่งการระบาดของ โควิด ๑๙ ส่งผลกระทบต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมาก เนื่องจากทั้งผู้เรียนและผู้สอนต้องมีการปรับตัว ในการเรียนการสอนจากการเรียนในห้องเรียนเป็นการสอนออนไลน์ ซึ่งมีการเลือกใช้โปรแกรมในการ เรียนออนไลน์ซึ่งมีข้อดีข้อจำกัดแตกต่างกันไป ความพร้อมของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของผู้เรียน รวมถึง อาจเกิดปัญหาได้ในระหว่างเรียนซึ่งในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บนั้นอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาได้ พูดคุยและปรับกระบวนการเรียนการสอนให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือแอปพลิเคชันในการ เรียนออนไลน์หลัก ๆ ได้แก่ Line Zoom YouTube และ Google Classroom ส่วนโปรแกรม Camtasia Studio ผู้สอนใช้สำหรับตัดต่อวิดีโอเพื่อใช้ในการสอน และใช้โปรแกรม TeamViewer เข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บเกิดปัญหาการเขียนโปรแกรมขัดข้อง ขึ้นในระหว่างเรียน แม้ผู้เรียนและผู้สอนจะอยู่คนละพื้นที่กัน ซึ่งจากการเรียนออนไลน์ในรายวิชาการ เขียนโปรแกรมเว็บไม่ค่อยพบปัญหาในการเรียนออนไลน์เกิดขึ้นมากนัก เนื่องจากเป็นรายวิชาปฏิบัติที่ สามารถอัดคลิปวิดีโอและนำขึ้นไปเผยแพร่บน YouTube และให้นักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาได้ ตลอดเวลาทั้งในเวลาเรียนและนอกเวลา ซึ่งผู้สอนเห็นว่ากระบวนการเรียนการสอนออนไลน์สามารถที่จะ 7 วิทยา วาโย , อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์และจรรยา, การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ ไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน, วารสารศูนย์อนามัยที่ ๙ : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัย สิ่งแวดล้อม : ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓๔ (๒๐๒๐) : พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๓, บทคัดย่อ. 10 แก้ไขปัญหาการเรียนที่ยังอยู่ในสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าที่กำลังแพร่ระบาดได้อย่างดี และเหมาะกับ รายวิชาที่เป็นเนื้อหาปฏิบัติผ่านทางคอมพิวเตอร์8 ในส่วนของการศึกษางานวิจัยต่างประเทศ พบว่า Lubna Salamat, Gulzar Ahmad , Mohammad Iftikhar Bakht and Imran Latif Saifi (๒๕๖๑) ได้ศึกษาเรื่อง “EFFECTS OF E–LEARNING ON STUDENTS’ ACADEMIC LEARNING AT UNIVERSITY LEVEL” พบว่า การศึกษาในส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ทางวิชาการของนักศึกษาใน ระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อค้นหาผลกระทบของความสนใจและการเรียนรู้ของ นักศึกษาต่อการเรียนทางออนไลน์ในระดับมหาวิทยาลัย ข้อมูลการวิจัยรวบรวมจากนักศึกษา ๒๐๕ คน จากมหาวิทยาลัย Lahore, Pakpattan Campus พบว่า การจัดสรรเวลาในการเรียนรู้ทางออนไลน์มีความ ยืดหยุ่นกับนักศึกษา และจูงใจนักศึกษาให้ทำงานในความรับผิดชอบของพวกเขาโดยไม่ต้องเข้าไป ช่วยเหลือ โดยนักศึกษารู้สึกสะดวกสบายเมื่อพวกเขาใช้อินเตอร์เน็ท9 Lorico DS. Lapitan, Jr., Cristina E. Tiangco, Divine Angela G. Sumalinog, Noel S. Sabarillo, and Joey Mark Diaz (๒๕๖๔ ) ได้ ศึ ก ษ า เรื่อ ง “ An Effective Blended Online Teaching and Learning Strategy during the COVID-19 Pandemic” พบว่า การเปลี่ยนการเรียนรู้และ การสอนในช่วงการระบาดของโควิด ๑๙ ได้นำความ ท้าทายอย่างแท้จริงเกี่ยวกับผู้สอนและนักศึกษา ความ จริงความยุ่งยากเหล่านี้ในการสอนหลักสูตรเคมีในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย Santo Tomas เป็น การผสมผสานกลยุทธ์การเรียนรู้ในบริบทของการเรียนการสอนของเคมีกายภาพ ๑ เคมีวิเคราะห์สำหรับ นักศึกษาวิศวกรรมเคมี ที่ถูกกำหนดไว้ซึ่งได้มีการเสนอกลยุทธ์ทางออนไลน์ที่จะอำนวยความสะดวกและ เปลี่ยนผ่านรูปแบบเดิมคือ Face to Face ไปสู่การสอนออนไลน์อย่างเต็มตัว กลยุทธ์การเรียนรู้แบบ ผสมผสาน ๕ องค์ประกอบ คือ การค้นพบ (Discover) การเรียนรู้(Learn) การฝึกปฏิบัติ (Practice) การ ร่วมมือ (Collaborate) และ การประเมิน (Assess) (DLPCA) ใน DLPCA ส่วนของเวลาที่ไม่ประสานกัน ของการสอน มีความสำเร็จผ่านทางการเผยแพร่ของการจัดทำบันทึกวิดีโอการสอนไว้ก่อนบนทางยูทูบ เพื่ออนุญาตให้นักศึกษาได้เรียนและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของพวกเขาด้วยตนเอง ในส่วนของการ สอนในช่วงเวลาเดียวกันถูกจัดการโดยการใช้แพลตฟอร์ม video conferencing เช่น Zoom หรือ Google Meet กลยุทธ์ DLPCA ถูกนำเสนอและอภิปรายไปยังนักศึกษาเพื่อนำสู่การปฏิบัติ การวิเคราะห์ ของประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนบนฐานของ ๓ ตัวชี้วัด ๑) ประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษา ๒) ผลการปฏิบัติทางวิชาการของนักศึกษา และ ๓) การสังเกตผู้สอนซึ่งแสดงให้เห็นว่า DLPCA มี ผลกระทบเชิงบวกต่อนักศึกษาและครูผู้สอน ความท้าทายที่ถูกกำหนดขึ้นมาเป็นความมีเสถียรภาพของ 8 สิริพร อินทสนธิ, โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ (COVID - 19 and Online Teaching case study: Web Programming Course), วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563), หน้า 203. file:///C:/Users/Acer/Downloads/244722-Article%20Text-876989-1-10-20201229.pdf 9 Lubna Salamat, Gulzar Ahmad , Mohammad Iftikhar Bakht, Imran Latif Saifi, EFFECTS OF E–LEARNING ON STUDENTS’ ACADEMIC LEARNING AT UNIVERSITY LEVEL, Asian Innovative Journal of Social Sciences & Humanities (AIJSSH), Vol. 2 No. 2, April 2018. https://www.researchgate.net/publication/326293305 11 การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ทและความเชี่ยวชาญของครูผู้สอนกับความพร้อมในเครื่องมือการสอนบน อินเตอร์เน็ท เช่น video conferencing software ซึ่งครูผู้สอนจะต้องหาแนวทางในการปรับปรุงการมี ปฏิสัมพันธ์ของพวกเขากับนักศึกษา และการรักษาประโยชน์ของนักศึกษา รวมถึงการนัดหมายระหว่าง ชั้นเรียนออนไลน์ การสำรวจได้ชี้ให้เห็นว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจกับกลยุทธ์ DLCPA ดังนั้น กลยุทธ์นี้จึงได้รับการพิจารณาถึงการจัดการและเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สามารถนำมาปรับไปสู่ การสอนออนไลน์อย่างเต็มตัวไปสู่หลักสูตรการสอนเคมีระดับปริญญาตรี ทั้งหมดเป็นข้อค้นพบและการ ทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการศึกษานี้ที่จะเพิ่มมูลค่าทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการสอนแบบผสมผสาน ในช่วงหลังโควิด 19 ในการศึกษาที่สูงขึ้น10 จากการศึกษาดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมี ประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลนั้นพบว่ามี ๕ ทักษะในการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ ๘ วิธีการสอนที่สามารถ ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ๖ เคล็ดลับ ที่สร้างสรรค์บูรณาการการสอนออนไลน์และ เสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุก และรวมถึงการใช้กลยุทธ์การเรียนรู้แบบผสมผสาน ๕ องค์ประกอบ คือ การ ค้นพบ (Discover) การเรียนรู้(Learn) การฝึกปฏิบัติ(Practice) การร่วมมือ (Collaborate) และ การ ประเมิน (Assess) ซึ่งจะเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพที่สามารถนำมาปรับไปสู่การสอนออนไลน์ได้อีก ทางเลือกหนึ่งเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามการเตรียมวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาด ฝันในการสอนออนไลน์ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ตลอดถึงการสร้างปฏิสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในชั้นเรียนออนไลน์ นั้นจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนสนุกสนานและเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครื่องมือแอป พลิเคชันในการเรียนออนไลน์ ทั้งนี้ ในส่วนของผู้เขียนพอจะสรุปออกเป็น ๑๐ แนวทาง ในการจัดการ เรียนการสอนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ ๑. การวิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางและการ ออกแบบการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่คาดหมายว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์และ เป้าหมายของหลักสูตร ๒. ครูผู้สอนมีทักษะรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการสร้างสรรค์ เพื่อความสะดวกและราบรื่นในการถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังผู้เรียน รวมทั้งถ่ายทอดทักษะการใช้งาน เทคโนโลยีให้แก่ผู้เรียนให้มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดการ เรียนการสอนได้อันจะทำให้การเรียนการสอนดำเนินการได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น ๓. กำหนดแนวทางที่ชัดเจน ผู้สอนต้องกำหนดแนวทางที่ชัดเจนสำหรับผู้เรียนเพื่อให้ เข้าถึงการสอนออนไลน์รวมไปถึงตารางเวลาในการสอน ความคาดหวังที่จะได้รับจากผู้เรียนจากใบงาน ที่ครูผู้สอนได้มอบหมายให้ผู้เรียน ๔. ออกแบบการสอนที่น่าสนใจ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนและการมีส่วนร่วมของ ผู้เรียนขณะเรียนออนไลน์เพื่อพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีของผู้เรียน 10 Lorico DS. Lapitan, Jr., Cristina E. Tiangco, Divine Angela G. Sumalinog, Noel S. Sabarillo, and Joey Mark Diaz, An effective blended online teaching and learning strategy during the COVID-19 pandemic, Education for Chemica Engineers. 2021 Apr; 35: 116–131. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7847201/ 12 ๕. รูปแบบการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เพื่อที่จะทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน (Interactive) อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ ๖. เลือกเครื่องมือการสอนที่เหมาะสม เครื่องมือการสอนที่ดีจะช่วยให้การสอนออนไลน์ ของผู้สอนเป็นไปได้อย่างราบรื่น การเลือกใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันในการเรียนออนไลน์ใด ๆ ก็ ตาม จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมในการใช้งานให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนเพื่อให้สามารถใช้งานได้คล่องและมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการมีความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตทั้งของฝ่ายผู้สอนและผู้เรียนด้วย ๗. เสริมสร้างการเรียนรู้เชิงรุกนอกชั้นเรียน เช่น มอบหมายงานให้รับผิดชอบ อาทิ แบบฝึกหัด การบ้าน ใบงาน หรือการทำโครงงาน โครงการ เป็นต้น ๘. ให้ผู้เรียน Feedback โดยผู้สอนควรขอความเห็นจากผู้เรียนโดยตรงเกี่ยวกับสิ่งที่ เกิดขึ้น และควรจะให้ผู้เรียนแสดงความเห็นให้ครอบคลุมทุกอย่าง ตั้งแต่เนื้อหาไปจนถึงวิธีการสอน และ สิ่งที่ต้องปรับปรุง โดยให้ผู้เรียนโพสต์ความคิดเห็นลงบนกระดานสำหรับการ Feedback โดยเฉพาะ ๙. บริหารและจัดเวลาการเรียนที่ยืดหยุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการออกแบบการ เรียน การสอนที่ใช้เวลาน้อยลงแต่ยังคงเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น ผ่านการศึกษาจากสื่อต่างๆ ที่ครู มอบหมาย หรือเรียนรู้ผ่านค้นคว้าข้อมูล ทั้งนี้การปรับเวลาเรียนควรต้องถามความเห็นชอบร่วมกัน ภายในชั้นเรียน ยึดตัวผู้เรียนเป็นหลักในการจัดการเรียนการสอนอันจะเป็นแนวทางและวิธีการสร้างการ เรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้และพัฒนาทักษะสำคัญจากกระบวนการที่ครูออกแบบ ๑๐. กำหนดแนวทางประเมินผล และให้คำแนะนำที่มีคุณภาพและเหมาะสม การ ประเมินผลและให้คำแนะนำเพื่อการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสมกับความสามารถและความถนัดของ แต่ละคนถือเป็นประเด็นที่ครูผู้สอนจะต้องมีการจัดการที่ดี โปร่งใสและเป็นที่รับรู้ร่วมกัน โดยครูผู้สอน จะต้องปรับลักษณะของงานและการทำกิจกรรมที่มอบหมายให้เกิดความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และ ตัวชี้วัด เพื่อการพัฒนานักเรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดของหลักสูตร ทั้งนี้ หากสามารถประเมิน แบบ ๓๖๐ องศา ได้จะเป็นการดี เช่นผู้เรียนประเมินการสอน ครูประเมินการเรียนรู้ เพื่อนประเมินผู้เรียน ด้วยกัน และผู้ปกครองประเมินการสอนและการเรียนรู้ เป้นต้น สรุปการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล ประเด็น ข้อดี ข้อเสีย ผู้สอน - รู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา - บริหารจัดการเรียนการสอนในเวลา ที่จำกัด ไม่สามารถสังเกตพฤติกรรมการ เรียนรู้ของผู้เรียนได้โดยตรง ผู้เรียน สะดวกสบาย จูงใจผู้เรียน ขาดการมีส่วนร่วมและปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ลดโอกาสใน การเรียนรู้ร่วมกัน 13 หลักสูตร ออกแบบหลักสูตรที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ของผู้เรียน ไม่สามารถควบคุมบรรยากาศภายใน ชั้นเรียนได้ การบริหารจัดการ ออกแบบเนื้อหาการสอน ช่องทางการ สื่อสารเพื่อการเรียนรู้ที่สามารถสอดรับ การเครื่องมือในการเรียนการสอนได้ ต้องคอยกระตุ้น สร้างแรงจูงใจในการ เรียนรู้ และค้นหาความต้องการของ ผู้เรียน เครื่องมือ เลือกใช้แพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชัน ในการเรียนการสอนได้ ใช้เวลาในการเรียนรู้เครื่องมือเพื่อให้ เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน ดังนั้น จากวัตถุประสงค์ของบทความวิชาการฉบับนี้เพื่อทราบถึงการจัดการเรียนรู้ทาง ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล และเพื่อให้สามารถนำประโยชน์จากการจัดการเรียนรู้ทาง ออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้ซึ่งพอจะสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลนั้น ครูผู้สอนจะต้องกำหนดแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการ จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อสร้างจูงใจให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันและ ครูผู้สอน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ และจากข้อมูลการศึกษาดังกล่าวจึงน่าจะเป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้เช่นกัน และสิ่งสำคัญ Feedback จากผู้เรียนที่ ป้อนกลับมาจากการจัดการเรียนการสอนออนไลน์จะนำไปสู่การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

                      14 เอกสารอ้างอิง กนกวรรณ สุภาราญ (๒๕๖๓). ทักษะครูกับการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ยุคใหม่. ค้นหาเมื่อ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/372 ครูแนน (๒๕๖๓). 8 วิธีสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี. ค้นหาเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จาก https://www.xn--12cg5gc1e7b.com/24199/ จักรกฤษณ์ โพดาพล (๒๕๖๓). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์:วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย. ค้นหาเมื่อ ๒๔กรกฎาคม ๒๕๖๔ จาก https://slc.mbu.ac.th/wp - content/uploads/2020/06/94.pdf วิทยา วาโย และคณะ (๒๕๖๓). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของ ไวรัสCOVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน, วารสารศูนย์อนามัยที่ ๙ : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม : ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๓๔ (๒๐๒๐) : พฤษภาคม - สิงหาคม ๒๕๖๓. สิริพร อินทสนธิ(๒๕๖๓). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียน โปรแกรมเว็บ (COVID - 19 and Online Teaching case study: Web Programming Course). วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563). ค้นหาเมื่อ ๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ จาก file:///C:/Users/Acer/Downloads/244722- Article%20Text-876989-1-10-20201229.pdf สุวิมล มธุรส (๒ ๕ ๖ ๔ ). การจัดการศึกษ าในระบบ ออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19 (Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19), ปี ที่ 15 ฉ บั บ ที่ 40 พ ฤ ษ ภ าค ม – มิถุนายน 2564 - TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ปี2563-2567, Rajapark Journal Vol. 15 No. 40 May - June 2021. ห น้ า 35. ค้ น ห า เ มื่ อ ๒ ๕ สิ ง ห า ค ม ๒ ๕ ๖ ๔ จ า ก file:///C:/Users/user/ Downloads/250336-Article%20Text-892063-1-10-20210512.pdf Chala Communication Center (CCC) (๒๕๖๔). ๖ เคล็ดลับในการเรียนออนไลน์ให้มี ประสิทธิภาพ. ข่าวสารจุฬา, ค้นหาเมื่อ ๒ มิถุนายน ๒๕๖๔ จาก https://www.chula.ac.th/news/40851/ ee-library 01, ความเป็นมาและแนวคิดของ e-learning, ค้นหาเมื่อ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๖๔ จาก https://sites.google.com/site/eelibrary01/bth-thi-7/7-1 Lorico DS. Lapitan Jr., Cristina E. Tiangco, Divine Angela G. Sumalinog, Noel S. Sabarillo, and Joey Mark Diaz (๒๕๖๔). An effective blended online teaching 15 And learning strategy during the COVID-19 pandemic, Education for Chemica Engineers. 2021 Apr; 35: 116–131. ค้นหาเมื่อ ๗ สิงหาคม ๒๕๖๔ จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7847201/ Lubna Salamat, Gulzar Ahmad, Mohammad Iftikhar Bakht, Imran Latif Saifi (๒๕๖๑). EFFECTS OF E–LEARNING ON STUDENTS’ ACADEMIC LEARNING AT UNIVERSITY LEVEL, Asian Innovative Journal of Social Sciences & Humanities (AIJSSH), Vol. 2 No. 2, April 2018. ค้นหาเมื่อ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔ จาก https://www.researchgate.net/publication/326293305

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


aksil

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์