ชาวเทคนิคคอม คว้าที่ 3 และชมเชย ในงาน IOT Hackathon 2024 ระหว่างวันที่ 11-13 มีนาคม 2567

🏆 กรรมการอึ้ง ! อาชีวะโชว์สกิล Data & AI คว้าชัยเวที IoT Hackathon 2024 
ตอบโจทย์อุตสาหกรรม EEC ร่วมเชียร์ ชวนเยาวชนเข้าฝึกงานจริง
.

ปิดฉากการแข่งขัน IoT Hackathon 2024 ภายใต้โจทย์ Industrial AIoT Applications for Competitive & Smart Manufacturing ระยะเวลา 36 ชั่วโมง ที่เนคเทค สวทช. เนคเทค สวทช. ภายใต้งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ในโครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial IoT แบบเข้มข้นสำหรับบุคลากรระดับอาชีวศึกษาที่ตั้งเป้าหมายมุ่งพัฒนาวิทยาลัยต้นแบบที่มีความพร้อมทางด้านกำลังคน (ครู) เทคโนโลยี (อุปกรณ์) องค์ความรู้ (เครื่องมือ สื่อการสอน) ความพร้อมในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยี Internet of Things, Industrial IoT 
.

IoT Hackathon 2024 มีนักศึกษา 41 คน และอาจารย์ 8 คน เข้าร่วมทั้งสิ้น 49 คน จาก 6 วิทยาลัยต้นแบบเข้าร่วม เป็นกิจกรรมต่อเนื่องหลังจากการอบรมหลักสูตร Industrial IoT และ หลักสูตร Industrial Edge & AI ภายในโครงการฯ เพื่อเตรียมความพร้อมเยาวชนอาชีวะสำหรับการฝึกปฏิบัติงาน และได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการแข่งขัน ทั้งยังได้นำ Soft Skill มาใช้ในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการนำเสนอผลงาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ได้ในการเข้าฝึกปฏิบัติงานได้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2567 ณ เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) วังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง 
.

♦️ความท้าทายตลอดระยะเวลา 36 ชั่วโมงของ IoT Hackathon 2024 

ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมบทบาทการทำงานกับข้อมูลจริง 3 โรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงานยางลบ โรงงานผลิตลูกฟุตบอล และ โรงงานคุกกี้ และเริ่มต้นจากการนำข้อมูลดิบมาออกแบบ วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูล สำหรับการพัฒนาโรงงานอัจฉริยะใน 6 โจทย์ต่าง ๆ ได้แก่ OEE, Production Monitoring, Power Management, Maintenance, Warehouse Management, Quality Control รวมถึงนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณหาค่า ERP, การบำรุงรักษา Motor, การแจ้งเตือนด้วยระบบ ANDON และการทำ Monitoring Room พร้อมการนำเสนอในรูปแบบ Dashboard และ Analytics Report
.

นายปิยวัฒน์ จอมสถาน หัวหน้าโครงการฯ อธิบายว่า “ความพิเศษของการแข่งขันในปีนี้มีการเพิ่มโจทย์เกี่ยวกับ Industrial Edge & AI โดยเราจำลองสถานการณ์ว่า Machine Vision ที่ใช้คัดแยกสินค้าในโรงงานเสีย น้อง ๆ จึงต้องเทรนด์ AI ด้วย Daysie Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสร้าง Edge & AI แอปพลิเคชัน โดยเนคเทค สวทช. เพื่อใช้คัดแยกสินค้า และตรวจสอบค่าความถูกต้องของ AI”
.

โดยระหว่างการแข่งขันผู้เข้าแข่งขันจะต้องพบเจออุปสรรคต่าง ๆ ที่จำลองจากโรงงานจริง ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการดึงข้อมูลจาก PCL เครื่องจักรหยุดทำงานที่ส่งผลให้โปรดักชันแพลนมีปัญหา ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการแข่งขันได้จัดให้มีระยะเวลาในการปรึกษาพี่ ๆ จากทีมวิจัยระบบไซเบอร์กายภาพ (CPS) ได้ตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ 
.

🏆ผลการแข่งขัน ! ตัวท็อปอาชีวะคว้าชัย IoT Hackathon 2024 
.

หลังจากสิ้นสุดเวลาการแข่งขัน 36 ชั่วโมงผู้เข้าแข่งขันทุกทีมจะต้องนำเสนอการทำงานแก่คณะกรรมการ โดยคณะกรรมการจะพิจารณาผลงานใน 3 ส่วน ได้แก่ 1) เทคโนโลยี ได้แก่ การจัดทำ Dashboard การดึงและแสดงข้อมูลของโรงงาน การคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลดิบของโรงงาน การวิเคราะห์ค่า ERP และการควบคุมคุณภาพด้วย AI การคำนวณและวิเคราะห์ค่า Monitoring Room 2) การออกแบบ ได้แก่ การเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาสำหรับ Dashboard และข้อมูล ERP การจัดวาง-ความสวยงามของ Dashboard และข้อมูล ERP 3) การนำเสนอผลงานด้วย Presentationและการตอบคำถามกรรมการ 
.

การแข่งขันในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ 1. ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการ เนคเทค สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน 2. คุณสุรชัย ชัยณรงค์ กรรมการบริหาร บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) 3. คุณจิตรพงศ์ พุ่มสอาด ผู้อำนวยการ กองพัฒนาผู้ฝึก และเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน 4. คุณนิติ เมฆหมอก กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซินเนอร์ยี เทคโนโลยี จำกัด 5. คุณโฆษิต หนูฤทธิ์ Operation Productivity Improvement Manager บริษัท นวพลาสติก อุตสาหกรรม จำกัด ในเครือ SCG
.

ดร.พนิตา พงษ์ไพบูลย์ รองผู้อำนวยการเนคเทค สวทช. กล่าวว่า “รู้สึกตื่นเต้นที่น้อง ๆ เยาวชนอาชีวะสามารถทำความเข้าใจโจทย์ และสามารถพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพในเวลาที่จำกัดเพียง 36 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามสำหรับการแข่งขัน สิ่งที่สำคัญไปมากกว่าชัยชนะ และ รางวัล คือ ความรู้ ประสบการณ์ การแก้ไขปัญหา การทำงานภายใต้ความกดดันทั้งระยะเวลา ความง่วง อ่อนล้าของร่างกาย และมิตรภาพจากการทำงานต่างวิทยาลัยที่น้อง ๆ ได้รับ ถึงแม้จะเป็นช่วงระยะเวลาสั้น ๆ แต่เชื่อว่าประสบการณ์จากการแข่งขันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานในโลกอุตสาหกรรมจริงอย่างแน่นอน” 
.  

🏆ประกาศผลรางวัล 

รางวัลชนะเลิศ  ได้รับเงินรางวัล 30,000 บาท 
ทีม Teletubbies 

สมาชิก ได้แก่

นายปรินทร์วิชญ์ ใหม่อินทร์  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายชนสรณ์ บุญมาก  วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายพิริยะ มังคะรัตน์  วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม
นายศุภวิชญ์ หลักเมฆ  วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายฐิติพันธ์ เหล่าอารีย์  วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท 
ทีม แชมป์ (Champ)

สมาชิก ได้แก่

นายชาญเมธา บ่างสมบูรณ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายวิษณุ ชื่นรส วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายจักรพงษ์ หวานเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี
นายศักดิ์สิทธิ์ ละครเขต วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายพิพัฒน์ ธีรภัทรไพศาล วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
.

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท 
ทีมอร่อยไม่ซ้ำ จำสูตรไม่ได้
.

สมาชิก ได้แก่
นายธนานพ ยศฐาศักดิ์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายอธิพัชร์ ภูรีเรืองโรจน์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายสุวิชา เลิศวิวัฒน์เกษม วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
นายวรเวช เกตุวัตถา วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นางสาวกันต์ชิสา สนโศรก วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
.

รางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล 
ได้รับเงินรางวัลทีมละ 5,000 บาท

ได้แก่ 

(1) ทีม Family Cookie

สมาชิก ได้แก่

นายฐิติกร กรรณมณี วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม
นายชยณัฐ เสือพุฒวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายเสฏฐวุฒิ นารายณ์วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายสิทธินนท์ สกุลวรภัทรวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย
นายอนุพงษ์ วันทา วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี
.

(2) ทีม All for ONE 

สมาชิก ได้แก่

นายนนธวิทย์ มีแสง วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
นายวุฒิพงศ์ ว่องไว วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม
นายอภิสิทธิ์ พูลเวช วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ
นายกิตติทัต ทิพสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์
.

ภายในการแข่งขันฯ ภาคอุตสาหกรรมทั้งในพื้นที่ EECi กรุงเทพฯ และปริมลฑล ได้ร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของผู้เข้าแข่งขัน พร้อมตั้งโต๊ะให้คำปรึกษาในลักษณะ Job Fair ประชาสัมพันธ์และแนะนำรูปแบบการทำงานของบริษัทสำหรับการฝึกงานของน้อง ๆ ในอนาคต ได้แก่ บริษัท แอร์โรคลาส จำกัด บริษัท อูเบะ เคมิคอลส์ (เอเชีย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสอาร์พี โพลีแพค จำกัด บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล สตอเรจ เทคโนโลยีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท โดนัลด์สัน (ประเทศไทย) จำกัด  บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช จำกัด บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไดซิน จำกัด บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


Computer

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์